ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในภาคใต้

จุติมา บุญมี, ธนินทร์ สังขดวง, ปภัศร์ชกรณ์ อารีย์กุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะเด่นและกิจกรรมของโฮมสเตย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในภาคใต้ 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของโฮมสเตย์ในภาคใต้ และ 3) กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 14 คน คือ ผู้นำโฮมสเตย์หรือบุคคลที่ถือว่าเป็นตัวแทนของโฮมสเตย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากโฮมสเตย์ 14 แห่ง ใน 9 จังหวัดของภาคใต้ โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT การสังเคราะห์ TOWS Matrix วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัย พบว่า 1) โฮมสเตย์ในภาคใต้มีลักษณะเด่นที่เกี่ยวข้องกับบริบทพื้นที่และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรมและการทำประมงชายฝั่ง ส่งผลต่อกิจกรรมที่มีรูปแบบเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ทะเล ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณี 2) สภาพแวดล้อมภายใน ด้านจุดแข็ง ประกอบด้วย การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี การปรับปรุงมาตรฐานโฮมสเตย์
ให้มีคุณภาพ การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ และมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านจุดอ่อน ประกอบด้วย ขาดการวางแผนทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ขาดความพร้อมในการร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม บุคลากรขาดทักษะการสื่อสารด้านภาษา การสื่อความหมาย และขาดงบประมาณสนับสนุนด้านการจัดการทรัพยากร สภาพแวดล้อมภายนอก ด้านโอกาส ประกอบด้วย มีทำเลที่ตั้งที่โดดเด่น วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีที่น่าดึงดูดใจ และกระแสความนิยมการท่องเที่ยววิถีไทยและการท่องเที่ยวชุมชน ด้านอุปสรรค ประกอบด้วย ความไม่ต่อเนื่องในการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐ การท่องเที่ยวกระแสหลักที่ขาดจิตสำนึกรับผิดชอบของนักท่องเที่ยว และการแข่งขันของธุรกิจที่พักที่มีลักษณะเดียวกัน และ 3) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในภาคใต้ สรุปได้ 6 ประเด็น คือ 1) การพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการรองรับด้านการท่องเที่ยว 2) การกระจายรายได้และผลประโยชน์ 3) การพัฒนาคุณภาพการบริการ 4) การวางแผนทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ 5) การพัฒนาคู่มือการให้บริการและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว และ 6) การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืนทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ: ยุทธศาสตร์, การท่องเที่ยวโฮมสเตย์, ภาคใต้

 

This research aimed to 1) study the outstanding characteristics and the activities of standardized homestay in the South, 2) analyze internal and external environments of homestay in the South, 3) determine the strategies for homestay tourism in the South. The research employed qualitative research using one sample group of 14 people which were homestay leaders or persons who considered to be a representative of standardized homestay from nine provinces of the South. The data were analyzed by SWOT, TOWS Matrix , content analysis, and group discussion.

The finding revealed as follows. 1) The outstanding characteristic of homestay in the South was relevant to area context and lifestyle associated with agriculture and coastal fishery that had an effect on the activities related to natural resources, ocean, history, culture and tradition. 2) Internal environment in regard to the strength included developing infrastructure and technology, improving homestay quality, learning through collaborative network, and preserving natural resources and environment. Internal environment in regard to the weakness composed of the deficiency of marketing and public relations planning, team collaboration, communication skills in language and interpretation of the staffs, and fund for external environment management. The opportunities were remarkable location, way of life, history, attractive culture and tradition, and trend of Discover Thainess and community tourism. The threat consisted of discontinuity in development of government sector, mainstream tourism with the lack of a sense of responsibility of tourists, and competition of the same lodging business. 3) Strategies of homestay tourism in the South were summarized in 6 strategic issues which were 1) development of capacity and readiness for tourism, 2) distribution of income and benefit, 3) development of service quality, 4) marketing and public relations planning for homestay tourism, 5) manual development of service and tourism activities, and 6) conservation of tourism resources for enhancing benefit to community in creating economic stability, and, sustainable social, culture and environment.

Keywords: strategy, homestay tourism, southern region


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.46

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus