ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

เมธี จันทโร

Abstract


การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลารวมจำนวน 178 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Multiple Regression) โดยวิธี Stepwise
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์การมีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ การควบคุมองค์การให้เหมาะสม และต่อมาการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิผลการกำหนดทิศทางเชิงกล รองลงมาตามลำดับ ส่วนด้านที่น้อยที่สุด คือ การมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
2. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แนวทางการพัฒนาด้านความเป็นเลิศและรอบรู้มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ การเรียนรู้เป็นทีม และวิธีคิดและมุมมองที่เปิดกว้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน รองลงมาตามลำดับ ส่วนด้านที่น้อยที่สุด คือ ความคิดเชิงระบบ
3. ผู้นำเชิงกลยุทธ์ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลามีด้วยกัน 3 ด้าน คือ ด้านที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ด้านการควบคุมองค์การให้เหมาะสม รองลงมาด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์การ

This research on strategic leadership, which affected the state of being a Learning Organization of Songkhla Provincial Administrative Organization, aimed to 1) study the strategic leadership of the Songkhla Provincial Administrative Organization, 2) study the state of being a Learning Organization of the organization, and 3) study the strategic leadership which affected the state of being a Learning Organization of the organization. The research tool was a questionnaire. Data were collected from 178 people of Songkhla Provincial Administrative Organization. Statistics used for data analysis were percentages, means, and standard deviations. Stepwise multiple regression analysis was used to analyze the relationships.
Research results showed the following:
1. Strategic leadership of the Songkhla Provincial Administrative Organization had a considerable mean rating. After considering each aspect, the researcher found that the factor of organizational resources management had the highest mean, followed by suitable control of the organization, support on effective organizational culture, and determination of strategic direction, respectively. The factor of focusing on ethical practice had the lowest mean.
2. The state of being a Learning Organization also had a considerable level of support. After considering each aspect, the researcher found that excellence and considerable knowledge development guidelines had the highest mean, followed by team learning, and wide thinking method and perspective, respectively. Systematic thinking had the lowest mean.
3. Strategic leaders affected the state of being a Learning Organization at the significance a level of .05. Strategic leadership significantly affected the state of being a Learning Organization of Songkhla Provincial Administrative Organization. The factor of suitable control of the organization most affected the state of being Learning Organization, followed by focusing on ethical practice and organizational resources management.


Full Text:

PDF

References


แก้วตา ไทรงาม และคณะ. (2548). ผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างองค์การ แห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาผู้บริหาร การศึกษา.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสารการพิมพ์.

พบสุข ชํ่าชอง. (2553). การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://www.isranews.org/thaireform-data-make-sense/item

Hitt, A. M., Lreland, D. R., & Hoskisson, E. R. (2005). Strategic Management. Ohio: Thomson.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipeline: The Art and Practice of the Learnling Organization. New York: Doubleday/Currency.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.23

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus