การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

นันทนา ฐานวิเศษ, วาสนา กีรติจำเริญ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบุญวัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ย 15.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.64 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้า 9.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ย 18.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.86 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้า 9.05 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการแก้ปัญหา

 

The purposes of this research were to 1) compare learning achievement on work and energy learning unit and problem solving ability before and after learning and 2) compare learning achievement on work and energy learning unit and problem solving ability for grade 10 students, using Problem Based Learning (PBL) management after a learning percentage of 70 within the criterion. The research sample were 40 students from Intensive Science Mathematics English Program Room, Boonwattana School in 2016 academic year, received by cluster random sampling. The employed research instruments comprised 1) a lesson plan with PBL management, 2) an achievement test on work and energy learning unit, and 3) problem solving ability test. Statistics for data analysis were the percentages, X, S.D. and t-test.

The results showed that: 1) learning achievement of the 10th grade students on work and energy learning unit where as after the lessons, learning achievement score X=15.10, S.D.=2.64, improvement score X=9.60, S.D.=2.69 passed 70% criterion of the specified score, and problem solving ability whereas after the lessons, problem solving ability score X=18.85, S.D.=1.86, improvement score X=9.05, S.D.=2.15 passed 70% criterion of the specified score 2) after the lessons with PBL management, learning achievement on work and energy learning unit and problem solving ability of the students were significantly higher than before the lessons at the .05 level, and 3) after the lessons with PBL management, learning achievement on work and energy learning unit and problem solving ability of the students were significantly higher than 70% criterion at the .05 level.

Keywords: problem based learning, learning achievement, problem solving ability


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.24

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus