รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สุธิภรณ์ ขนอม, รัตนา ดวงแก้ว, สังวรณ์ งัดกระโทก, วรรณะ หนูหมื่น

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูประถมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูประถมศึกษา และ 3) ทดลองและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูประถมศึกษา

วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบและสร้างรูปแบบเบื้องต้น ระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน และพัฒนารูปแบบครั้งที่ 1 สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน สอบถามผู้บริหารสถานศึกษาและครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา จำนวน 705 คน และพัฒนารูปแบบ ครั้งที่ 2 และระยะที่ 3 ทดลองและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบกับผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและครู จำนวน 13 คน จาก 2 โรงเรียน และพัฒนารูปแบบครั้งที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ซึ่งมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .91 คู่มือการใช้รูปแบบ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมความสามารถในการสอนภาษาไทย แบบสอบถามความพึงพอใจของครู และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยการวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูประถมศึกษามีสององค์ประกอบหลัก คือ (ก) แนวคิดและหลักการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม ความร่วมมือของทีมที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ การเรียนรู้ร่วมกันและการประยุกต์ใช้ การแบ่งปันวิธีปฏิบัติ ความมุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และเงื่อนไขการสนับสนุนและการสร้างความสัมพันธ์ และ (ข) กระบวนการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ ขั้นตรวจสอบ และขั้นปรับปรุงแก้ไข 2) รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูสร้างขึ้นภายใต้ 2 องค์ประกอบหลักดังกล่าวที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และ 3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก และพฤติกรรมความสามารถในการสอนภาษาไทยของครู 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถในการสอนภาษาไทย ด้านกลวิธีการสอน และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มีพัฒนาการสูงขึ้น ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนของครูในระดับมาก

คำสำคัญ: การบริหาร, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การสอนภาษาไทย, ประถมศึกษา, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

The objectives of this research were 1) to study the components of professional learning community administrative model in developing Thai language teaching capacity of elementary school teachers in three southern border provinces; 2) to develop the professional learning community administrative model in improving Thai language teaching capacity of elementary school teachers; and 3) to try out and evaluate quality of the professional learning community administrative model in improving Thai language teaching capacity of elementary school teachers.

The research process comprised three stages: The first stage was the synthesis of components of the model and creation of the preliminary model; the second stage was the verification of appropriateness and feasibility of the preliminary model by interviewing 17 experts and then developing the first draft of the model, conducting a focus group discussion involving 20 experts and using questionnaires to collect data from 705 school administrators and Thai language teachers at primary education level, and then developing the second draft of the model; and the third stage was the try-out and verification of the second drafted model with 13 primary school administrators and Thai language teachers from two primary schools and then developing the third draft of the model. The employed research instruments were interview forms, a form containing issues for focus group discussion, a questionnaire to assess appropriateness and feasibility of the model, with reliability coefficient of .91, a handbook for using the model, an interview form on Thai language teaching capacity and behavior of teachers, a questionnaire on the teacher’s satisfaction, and an interview form on the student’s satisfaction. Data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, repeated measure ANOVA, and content analysis.

Research findings showed that 1) the developed model for administration of professional learning community to develop Thai language teaching capacity of teachers comprised two main components: (a) the concepts and principles of professional learning community which consisted of six sub-components, namely, shared values and vision, cooperation of learning-oriented team, cooperative learning and application, distribution of practices, commitment for continuous improvement, and conditions for supports and creation of relationship; and (b) the process for administration of professional learning community which comprised four steps, namely, the planning step, the operation step, the verification step, and the improvement step; 2) the model for administration of professional learning community to develop Thai language teaching capacity of primary school teachers was developed under the above two main components that were related and connected with each other; and 3) regarding the try-out results of the developed model, it was found that model was appropriate, relevant and feasible at the high level; the three components of Thai language teachers’ teaching capacity, namely, their knowledge and ability of Thai language teaching, their teaching methods and techniques, and their classroom management ability achieved higher level of development; the teachers were satisfied with the model at the highest level; and the students were satisfied with their teachers’ teaching at the high level.

Keywords: administration, professional learning community, Thai language teaching, primary education, three southern border provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.16

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus