การพัฒนาระบบการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบบนแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิดเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลและการรับรู้ทางจริยธรรมทางสารสนเทศของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์

สุกานดา จงเสริมตระกูล, รองศาสตราจารย� ณ สงขลา

Abstract


งานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบบนแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลและการรับรู้ทางจริยธรรมทางสารสนเทศของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนสำหรับการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบบนแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิดของนิสิตนักศึกษาครู เพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาครูเกิดการรู้สารสนเทศดิจิทัลและการรับรู้จริยธรรมทางสารสนเทศในการเลือกใช้และพัฒนาทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด เพื่อแบ่งปันผลงานสู่สังคมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสังเคราะห์กรอบแนวคิดของระบบการเรียนเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบ กระบวนการเรียนรู้ และลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ 2) การพัฒนาระบบการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบบนแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลและการรับรู้ทางจริยธรรมทางสารสนเทศของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และ 3) การพัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์สำหรับการเรียนด้วยระบบการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบบนแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาฯ โดยครอบคลุมถึงเครื่องมือในการประเมินผลผู้เรียนในระบบ ได้แก่ แบบวัดการรู้สารสนเทศดิจิทัล แบบวัดการรับรู้ทางจริยธรรมทางสารสนเทศ และแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรแบบเปิดของผู้เรียน

The research was conducted to develop a group investigation learning system for digital literacy and awareness in information ethics of student teachers. The objectives of this study were to develop learning system for a group investigation learning activities on open educational resources of student teachers to promote digital literacy and awareness in information ethics in the use and development to share open educational resources accurately and appropriately. The research procedures consisted of 1) studying for principles theories and related research to synthesize for learning system framework about learning system components, learning processes and characteristics of tools 2) progress of a group investigation learning system for digital literacy and awareness of information ethics of student teachers development and 3) website structure development for the learning with a group investigation learning system on open educational resources, which included tools for learner evaluation that were digital literacy and awareness in information ethics assessments and learner behavior observation form for the use of open educational resources.

Full Text:

PDF

References


กรรณิการ์ พิมพ์รส. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อโรงเรียนไทย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขจิตพรรณ จันทรสาขา. (2545). ศึกษาความจําเป็นและความต้องการนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในการปฏิรูปการศึกษาของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณพงษ์ ศิริเจียรนัย. (2545). การศึกษาความจําเป็นและความต้องการนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในการปฏิรูปการศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศกลวรรณ พาเรือง. (2554). การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Atkins, D., Brown, J., & Hammond, A. (2007). A review of the Open Educational Resources (OER) movement: achievements, challenges, and new opportunities. Retrieve from : http://www.hewlett.org/uploads/files/ReviewoftheOERMovement.pdf

Creative Commons. (2014). About the licenses. Retrieve from: https://creativecommons.org/licenses

Hilton III, J., & Wiley, D. (2009). The creation and use of Open Educational Resources in christian higher education. Retrieve from: http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/15363750903181906

Richter, T., & Ehlers, U. (2010). Barriers and motivators for using open educational resources in schools. Retrieve from: http://hdl.handle.net/10609/4868

Sharan, Y., & Sharan, S. (1989). Group investigation expands cooperative learning. Educational leadership, 47(4), 17-21.

UNESCO. (2002). Forum on the Impact of open courseware for higher education in developing countries. Retrieve from: http://unesdoc.unesco.org/images/0012/001285/128515e.pdf

West, P., & Victor, L. (2011). Background and action paper on OER: A background and action paper for staff of bilateral and multilateral organizations at the strategic institutional education sector level. Retrieve from: http://www.paulwest.org/public/Background_and_action_paper_on_OER.pdf




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.25

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus