ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ประยูร อิ่มสวาสดิ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประเภทหน่วยงาน และความเกี่ยวข้องกับบัณฑิต และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ใช้บัณฑิตระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้รับการอนุมัติการสำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556-2558 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่ และ มอร์แกน ได้จำนวน 331 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) ตามประเภทหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านความมีคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านคุณลักษณะเด่นตามอัตลักษณ์และบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีข้อรายการจำนวนทั้งหมด 37 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (discrimination) อยู่ระหว่าง 0.36-0.82 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (reliability) เท่ากับ 0.96 และวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (X_) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และความเกี่ยวข้องกับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นจำแนกตามประเภทของหน่วยงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นในประเด็นหลักสูตร เป้าหมาย ความทันสมัยตรงกับความต้องการมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 81.25 ประเด็นบัณฑิตมีความสามารถตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คิดเป็นร้อยละ 93.88 ประเด็นบัณฑิตมีความสามารถในงานวิจัย คิดเป็นร้อยละ 78.00 ประเด็นมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นที่ยอมรับ ทั้งระดับภูมิภาค และประเทศ คิดเป็นร้อยละ 60.42 และประเด็นการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายศิษย์เก่าสาขาวิชามีเครือข่ายศิษย์เก่าร่วมมือกันเป็นอย่างดี คิดเป็นร้อยละ 59.09

คำสำคัญ: ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต, มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

 

This study aimed to 1) explore the satisfaction of the employees towards the work of educational administration postgraduates both master and doctoral degree, 2) compare the satisfaction of the employers according to sex, age, degree, types of organization, and the relations to the graduates and 3) seek the employers’ suggestions and opinion towards the work of the postgraduates. Samples, based on Krejcie and Morgan Sampling Table, were 331 employers of the Burapha University’s educational administration postgraduates in 2013-2015 allocated by using stratified random sampling according to types of organization. Six domains were used for probing satisfaction of the employers including 1) virtue ethics, 2) knowledge of academic ability, 3) intellectual skills, 4) interpersonal skills and responsibility 5) communication and IT skills, and 6) identity and desirable qualifications of the graduates. The tools for collecting data were questionnaires consisted of 37 items with the reliability of .96 and discrimination value between .36 and .82. Data were descriptively analyzed for means, standard deviation and inferentially analyzed for the t-test, and F-test.

Results indicated that;
1. As the whole, the employers’ satisfaction towards the work of the postgraduates both master and doctoral degree in educational administration was at the highest level.
2. There was no different satisfaction of the employers towards the work of postgraduates among sex, age, degree levels, and relation to the graduates, except the type of organization (p<.05).
3. Employers’ suggestions for curriculum development showed that 81.25 percent was of curriculum issues, aims, modernization, needs meeting, and appropriateness, 93.88 percent was of graduates’ expected learning outcomes, 78.00 was of research skills, 60.42 percent was of regional and national reputation of the university, while 59.09 percent was of good participation of the educational administration alumni.

Keywords: satisfaction of the employers, postgraduates, educational administration, Faculty of Education, Burapha University


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.27

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus