ความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในภาคใต้ตอนล่าง: แรงขับดัน ผลการดำเนินงาน และอุปสรรค

นพรัตน์ ทองเต็มดวง, ธัญรดี ทวีกาญจน์

Abstract


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงผลักดันที่เป็นสาเหตุให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรนำแนวคิดเกี่ยวกับด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมาปรับใช้ และเพื่อศึกษาผลการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ประกอบด้วยการวิจัยทางเอกสารและการวิจัยภาคสนาม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 42 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ปฏิบัติงานของธนาคาร และตัวแทนชุมชนในพื้นที่ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลจากการวิจัยพบว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีแรงขับดันในดำเนินกิจการตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย และด้านการกุศลเป็นหลัก สำหรับผลการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น สำนักงานใหญ่ในส่วนกลางมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อผู้คนและชุมชนเป็นอันดับแรก และรองลงมาคือ การดำเนินงานเพื่อผลกำไร ในขณะที่ในส่วนสาขาของธนาคารในภาคใต้ตอนล่างนั้นกลับให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่มุ่งเน้นเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคที่ธนาคารต้องเผชิญเมื่อดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดผลกระทบจากการแทรกแซงการดำเนินงานของรัฐ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ และปัจจัยภายในองค์การ ได้แก่ การมอบหมายภารกิจเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้เป็นภาระงานเสริมมากกว่าภาระงานหลัก

คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ภาคใต้ตอนล่าง, แรงขับดัน, ผลการดำเนินงาน, อุปสรรค

 

This study aimed to examine drivers which motivate Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) to implement corporate social responsibility (CSR), and to investigate CSR performance and its obstacles in lower southern provinces. This study was qualitative research joint by documentary research and field research. Data gathered by in-depth interview of 42 key informants consisted of three groups of stakeholders; good corporate governance and corporate social responsibility sub-committees, bank officers and community residents. The data were analyzed by content analysis.

The results indicated that economic motives, legal motives and philanthropy motive were key drivers for BAAC to sincerely pursue corporate social responsibility. In addition, while BAAC’s headquarter performed CSR projects for the benefit of people over the profits and planet, on the list of priority of BAAC local offices in a lower southern region planet comes first. The obstacles that BAAC encountered when employing CSR after process contains both external and internal factors including politics, economic and management concerns.

Keywords: corporate social responsibility, Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, lower southern province, drivers, CSR performances, obstacles


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.30

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus