ลักษณะบ้านในวัฒนธรรมมลายู: ศึกษากรณีกัมปงไอเยอร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม

ปัญญา เทพสิงห์, เกษตรชัย และหีม, เก็ตถวา บุญปราการ, เจตสฤทธิ์ สังขพันธ์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะบ้านในวัฒนธรรมมลายูในกัมปงไอเยอร์ ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่ของบรูไน ดำเนินวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิและภาคสนาม เพื่อทำการสังเกตลักษณะบ้าน รวมถึงสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นคนในชุมชนแบบเจาะจง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า บ้านมี 3 ลักษณะ คือ บ้านแบบประเพณีเดิม แบบกึ่งประเพณี และแบบสมัยใหม่ บ้านแบบประเพณีหรือแบบดั้งเดิมมีจำนวนมากที่สุด อันแสดงถึงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นและประชานิยม ลักษณะบ้านมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่บนเสาที่ปักอยู่ในน้ำ ภายในบ้านนิยมปล่อยโล่งกว้าง แบ่งสัดส่วนห้องตามหน้าที่ใช้สอย ผนังตีเกร็ดไม้ เว้นหน้าต่างเป็นช่วงๆ แบบกึ่งประเพณีเป็นแบบที่ดัดแปลงจากแบบดั้งเดิมเข้ากับรสนิยมใหม่ๆ เช่น เพิ่มอาร์ทโค้ง เพิ่มเสาเกลียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชนชั้นนำ แบบสมัยใหม่เป็นแบบละทิ้งแบบดั้งเดิมไปใช้รูปแบบสากล ใช้เทคโนโลยีและวัสดุสมัยใหม่ ทำให้บ้านดูแปลกปลอมไปจากบ้านอื่นๆ ลักษณะนี้สร้างขึ้นเพื่อทดแทนบ้านซึ่งถูกไฟไหม้ตามพระประสงค์ของสุลต่าน ไม่ว่าบ้านลักษณะใดทุกหลังมีระเบียงบ้านและเชื่อมต่อด้วยสะพานไม้หรือคอนกรีต ความแตกต่างของลักษณะบ้านสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมมลายูที่ยังคงเลื่อนไหลตามอิทธิพลโลกสมัยใหม่

คำสำคัญ: ลักษณะบ้าน, วัฒนธรรมมลายู, กัมปงไอเยอร์

 

The purpose of this study was to investigate styles of houses in Melayu culture in Kampong Ayer, one of Brunei’s old Muslim communities. The data of this qualitative study were collected from related documents and the field through observations of houses and in-depth interviews with people in the community selected using purposive sampling. The primary and secondary data were analyzed, and presented with analytical description. The study found that there are three styles of houses: traditional, semi-traditional, and modern houses. Most houses are in the traditional style which shows specific characteristics of the area. The layout of this style of houses is rectangular, and built on pillars planted in the ground under water. The interior spaces are not defined by walls. Rooms are divided according to their functions; walls are wood lath partitions, and windows are not adjacent. Semi-traditional style houses are traditional style houses modified to have a modern look by adding, for example, rounded arches and spiral pillars. Semi-traditional style houses mostly belong to upper class people. Modern style houses are built with modern technology and materials, and thus, look different from other houses. Most of them were built to replace houses that were destroyed by fire, as ordered by the Sultan. No matter what style the house is, each one has a veranda that is connected with a wooden or concrete bridge. The different characteristics of the houses reflect changes of Melayu culture that have moved along with influence of the modern world.

Keywords: house styles, Melayu culture, Kampong Ayer


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.56

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus