ผลของโปรแกรมบูรณาการแนวคิดในการให้การปรึกษาแบบกลุ่มต่อการยอมรับกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี
Abstract
งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบูรณาการแนวคิดในการให้การปรึกษาแบบกลุ่มต่อการยอมรับกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง 12 คน ที่ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดได้สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และนำมาสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม ผู้วิจัยบูรณาการแนวคิดจาก 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยมทฤษฎีการปรึกษาแบบการรู้คิดพฤติกรรม และทฤษฎีการปรึกษาแบบพิจารณาความเป็นจริง ซึ่งใช้ในกลุ่มทดลอง และ 2) โปรแกรมการให้ความรู้ทางจิตวิทยา ซึ่งใช้กับกลุ่มควบคุม ทั้งสองโปรแกรม ประกอบด้วย 14 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมดำเนินการ 14 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน 2 สัปดาห์ 3) แบบประเมินการยอมรับกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (Cronbach’s alpha=0.81) ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ทั้ง 2 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบการยอมรับกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile range: IQR) และ Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมบูรณาการแนวคิดในการให้การปรึกษาแบบกลุ่มมีค่าคะแนนการยอมรับในกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหลังการทดลอง (Median=20.50, IQR=3.00) มากกว่าก่อนทดลอง (Median=18.50, IQR=1.25) และมากกว่าค่าคะแนนของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ทางจิตวิทยา (Median=19.00, IQR=2.50) ดังนั้นโรงเรียนต่างๆ อาจนำโปรแกรมบูรณาการแนวคิดในการให้การปรึกษาแบบกลุ่มไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ได้
คำสำคัญ: การบูรณาการแนวคิดการให้การปรึกษา, การยอมรับในกระบวนการสูญเสีย, เหตุการณ์ความไม่สงบ, นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
The research aimed to study the effect of Integrated Approaches-group Counseling Program (IACP) on mourning acceptance of secondary school students losing of loved ones from the terrorism in Pattani province. Participants were 12 voluntary students who met criteria and randomly assigned equally into the experimental and the control group. The research tools were 1) IACP: existential, cognitive behavior, and reality approached in counseling for experimental group and 2) The psycho-education program for control group. Both of tools consisted of 14 sessions over 3 months and 2 weeks, each session was 1.30 hour. 3) The mourning process questionnaire (Cronbach’s alpha=0.81) is used to collect between before and after used IACP and both of experimental and control group. The statistics were median, interquartile range (IQR), and Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test.
The results were found that: After the intervention, the median scores (Median=20.50, IQR=3.00) of the mourning process in the students of experimental group were higher than those before the experiment (Median=18.50, IQR=1.25) and higher than those (Median=19.00, IQR=2.50) of the control group. Guidance teachers should have a training in group counseling before applying this program to group of students losing of loved ones from the terrorism.
Keywords: integrated group counseling, acceptance of a mourning process, crisis event, secondary school students
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.32
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus