การศึกษานิทานพื้นบ้านมุสลิมในจังหวัดปัตตานี

ยุพดี ยศวริศสกุล

Abstract


การศึกษานิทานพื้นบ้านมุสลิมในจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานิทานพื้นบ้านมุสลิมในจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อจัดทำหนังสือนิทานพื้นบ้านมุสลิมสำหรับเด็ก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างและเครื่องบันทึกเสียง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประมวลบทสัมภาษณ์จากการลงพื้นที่ เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาและสรุปสาระสำคัญตามประเด็นที่กำหนด คือ ชื่อเรื่อง ประเภทของนิทาน สารัตถะของนิทานพื้นบ้านและคุณค่าของนิทานพื้นบ้าน จัดระบบข้อมูลตามประเภทของนิทานและนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาและจัดทำเป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นบ้านมุสลิม จำนวน 50 เรื่อง แบ่งตามประเภทของนิทานได้ 6 ประเภท คือ นิทานมุขตลก จำนวน 10 เรื่อง นิทานคติ จำนวน 11 เรื่อง นิทานอธิบายเหตุ จำนวน 8 เรื่อง นิทานเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ จำนวน 8 เรื่อง นิทานตำนาน จำนวน 1 เรื่อง และนิทานปรัมปรา จำนวน 12 เรื่อง ด้านสารัตถะของนิทานพื้นบ้านที่สำคัญ พบว่า มี 3 ลักษณะ คือ ส่วนใหญ่เป็นสารัตถะเกี่ยวกับปัจเจกชน มุ่งเน้นในเรื่องความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การทำความดี การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และสิ่งที่อยู่รอบตัว สารัตถะเกี่ยวกับสถาบันครอบครัว เป็นเรื่องการมีครอบครัวที่อบอุ่น ดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ระหว่างพ่อแม่กับลูกๆ และสารัตถะเกี่ยวกับสถาบันสังคม เป็นเรื่องการสืบทอดประเพณี การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม ด้านคุณค่าของนิทานแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ส่วนใหญ่จะมีคุณค่าด้านความบันเทิง รองลงมาคือ คุณค่าด้านการศึกษาวัฒนธรรม ด้านคุณค่าทางปัญญา และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

คำสำคัญ: นิทานพื้นบ้านมุสลิม, จังหวัดปัตตานี

 

The proposes of the research were 1) to study Muslim Folktales in Pattani Province, and 2) to make Muslim Folktale storybooks for children .The Data was collected and recorded by the researcher herself through interviewing the subjects in the region on Muslim Folktales by using structured interview. Then, the collected data was analyzed and evaluated. The results of the study were summarized into the following aspects: the title of the folktales, the type of the folktales, the essence of folktales, and the values of the folktales. The results of the study were also presented by using the descriptive details .They revealed that there were altogether 50 Muslim folktales and could be classified into six types: 10 humorous, 11 fable tales, 8 explanatory tales, 8 animals tales, 1 legend tale and 12 fairy tales. For the important essences of the folktales, there were three essences. The first which was the most one concerned with the individuals. It focused on expressing the gratitude towards the benefactors, benefaction, the understanding of human being on nature and the world around him. The second one concerned with the family institution. It reflected the ways to lead a happy family life regarding both the relationship between husband and wife, and that between parents and children. The third one focused on a social institute. It was about the culture and custom inheritance. And for the values of the folktales, there were four values. The most and first one was on entertainment, the second is on cultural study, the third was on the intelligence and the last one was on social relations.

Keywords: Muslim Folktales, Pattani Province


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.59

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus