ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการดื่มสุรา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ โดยศึกษาจากผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ ในเขตพื้นที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครราชสีมาและสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการดื่มสุรา การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถขณะเมาสุรา ผลของอุบัติเหตุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดื่มสุราและพฤติกรรมการดื่มสุรา ประกอบด้วย 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ประวัติการดื่มสุรา การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถขณะเมาสุรา ผลของอุบัติเหตุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดื่มสุรา ตอนที่ 2 พฤติกรรมการดื่มสุรา และส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยความผูกพันทางสังคม ประกอบด้วย ความรู้สึกผูกพันต่อครอบครัว ความเชื่อทางสังคม การผูกมัดทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และปัจจัยการควบคุมตนเองของผู้ถูกคุมประพฤติ คดีเมาแล้วขับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจงค่าความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis: MCA) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม เพื่อชี้ให้เห็นว่าตัวแปรอิสระแต่ละตัวและหลายตัวผสมกัน ก่อให้เกิดความแตกต่างกันอย่างไรในค่าของตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์การจำแนกพหุนี้จะต้องทำการวิเคราะห์ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) เพราะการวิเคราะห์ความแปรปรวนจะบอกให้ทราบในเบื้องต้นว่า ตัวแปรอิสระใดมีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตาม จึงจะทำให้การวิเคราะห์การจำแนกพหุสามารถบอกได้ว่า ตัวแปรอิสระแต่ละตัวมีความสัมพันธ์หรือไม่ต่อตัวแปรตาม
ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราประกอบด้วย ปัจจัยด้านความคิดเห็นว่า ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมการดื่มสุรา ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง และปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม ได้แก่ ความผูกพันต่อครอบครัว ความเชื่อทางสังคม และความผูกมัดทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ ร้อยละ 58.6 (Multiple R = .586)
ผลการวิจัยนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ดื่มสุราเมื่ออายุตํ่ากว่า 18 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าสู่การเป็นนักดื่มสุราเร็วขึ้น อาจเป็นแนวในการนำไปสู่การป้องกันการเข้าสู่การเป็นนักดื่มหน้าใหม่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ลด ละ เลิก การดื่มสุราอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครอบครัวมีบทบาทเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่สมาชิกในครอบครัวโดยการไม่ดื่มสุรา และอาศัยโรงเรียน สถาบันการศึกษาปลูกฝังให้ความรู้ให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงพิษภัยจากการดื่มสุรา
This research aimed to study the levels and factors related to the behavior of drunk driving offenders in the probation office by conducting the study among 400 drunk drivers in Nakhonratchasima and Surin Probation Office. The study employed a set of questionnaire divided into 3 parts. Part 1 contained questions on personal factors; part 2 was subdivided into 2 sections, where section 1 consisted of questions related to drinking history, accident from drunk driving, results from the accident, opinions on drinking and section 2 related to drinking behavior. Part 3 questions related to social bond factors, which consisted of family bond, social beliefs, social commitments, participation in social activities and drunk driving offenders self-control factors. Data was analyzed with frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation. Multiple Classification Analysis (MCA) and analysis of relationships between the independent and dependent variables was conducted through the Analysis of Variance (ANOVA) to how the independent variables influenced on the dependent variables because ANOVA could preliminary identify which independent variable interacting with dependent variable, leading to MCA that would reveal true relationships between variables.
The research finding revealed factors related to drinking behavior, namely, opinions on local traditions favor drinking habits, self-control. Social bond factors consisted of family bond, social beliefs and social commitment. These factors related to behavior of drunk driving offenders 58.6% (Multiple R=.586).
Moreover, it was found that most samples started drinking habits younger than 18 years old, reflecting drinking habits at earlier age. Such finding could become the guideline for preventive measures against newcomer drinkers as to make children and youth seriously quit drinking on the continuous basis. Moreover, the family should be encouraged to set good example for the family members not to drink alcoholic beverages, together with collaboration from the school and educational institutes to teach children and youth on the danger of alcohol.
Full Text:
PDFReferences
กรมคุมประพฤติ. (2556). สถิติผู้ถูกคุมความประพฤติ ในความผิดฐาน ขับรถขณะมึนเมาสุรา ปี 2555-มีนาคม 2556. กองแผนงานและสารสนเทศ.
จิราภรณ์ เทพหนู. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมปลายสายสามัญศึกษาใน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอนามัยครอบครัว. มหาวิทยาลัยมหิดล.
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2551). สังคมวิทยาอาชญากรรม (Sociology of Crime). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทร์เพ็ญ อมรเลิศวิทย์. (2547). การควบคุมทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2554). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับ การวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน. นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์.
ทักษพล ธรรมรังสี. (2555). สุราและผลกระทบความเชื่อกับความจริง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยสุรา (ศวส).
นงนุช ตันติธรรม. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การดื่มสุราของผู้ขับขี่ที่เมาสุราแล้วขับรถใน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิตยา กัทลีรดะพันธ์. (2541). การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กในเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
ประกิจ โพธิ์อาศน์. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและ พฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปริทรรศน์ แสงทองดี. (2550). ปัจจัยการควบคุมตนเองและความ ผูกพันทางสังคมที่มีผลต่อการกระทำผิดในคดียาเสพติดของ เด็กและเยาวชนชาย: ศึกษาเฉพาะศูนย์อบรมเด็กและเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคม ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฝน แสงสิงแก้ว. (2524). ชีวิตและงาน รวมข้อคิดและข้อเขียน ทางสุขภาพจิตและวัฒนธรรมของศาสตราจารย์นายแพทย์ ฝน แสงสิงแก้ว. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์ และพีระพงษ์ วงศ์อุปราช. (2552). มิติทางสังคมของการดื่มสุรากับปัญหาความรุนแรง ในครอบครัว. วารสารสหศาสตร์, 9(2), 194-222.
พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข และคณะ. (2536). ลักษณะทางสังคมของสุรา และผลกระทบต่อสุขภาพในชนบท: ศึกษาในหมู่บ้าน โคกกลาง จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาธารณสุขเพื่อการพัฒนา.
ศศิวิมล ชมชื่น. (2554). ผลการทดสอบเบนเตอร์วิชวล มอเตอร์เกสตอลท์ ในผู้ติดสุรา กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2553). รายงานสถานการณ์สุราประจำปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
สายใจ ชื่นคำ. (2542). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ วัยรุ่นในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
หทัยรัตน์ ต๊ะอินทร์. (2545). พฤติกรรมการดื่มสุรากับการเกิด อุบัติเหตุจราจร ของผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรที่มารับบริการ ในห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุของโรงพยาบาลตำรวจ.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Y Hu NieKdam. (2009). Cultral Factors in male adolescent Alcohol use Among EDE Ethnic Minority in Central Highland Vietnam. Journal of Sahasat, 9(2), 175.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.21
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus