ผลการใช้กระบวนการฮิสบะห์ภาคชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพการศึกษาอิสลาม: กรณีศึกษา ชุมชนตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการฮิสบะห์ในการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาอิสลาม โดยทำการศึกษาในชุมชนตำบลกะลิซา ครอบคลุมการจัดการศึกษาอิสลามทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ผลจากการวิจัยสามารถนำเสนอได้ 2 ประการ คือ 1) รูปแบบของกระบวนการฮิสบะห์ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาอิสลาม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นการพัฒนากลุ่มแกนนำอาสา (มุฮ์ตาซิบ) ขั้นการกำหนดกรอบการทำงาน ขั้นการสร้างความเข้าใจแก่ชุมชนต่อกระบวนการฮิสบะห์ ขั้นการตรวจสอบสภาพการศึกษาของชุมชนโดยสมาชิกชุมชน ขั้นการกำหนดภาพความต้องการของชุมชนต่อการศึกษา และขั้นการเชื่อมโยงความต้องการสู่ผู้ปฏิบัติและการติดตามผล 2) ผลการใช้กระบวนการฮิสบะห์ในชุมชนกาลิซา พบว่า สามารถสร้างความรู้สึกร่วมของสมาชิกในชุมชน ลดประเด็นความขัดแย้งแสวงหาความร่วมมือ เปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาแบบพึ่งพาสู่การพึ่งตนเอง และเกิดการค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการศึกษาอิสลาม
คำสำคัญ: อิสลามศึกษา, การสร้างการมีส่วนร่วม, ฮิสบะห์
This research is participatory action research. Aimed for study the effectivness of HISBAH process to construct the participation for community member’s for improve the quality of Islamic study management. This research action in community at Kalisa district, covered Islamic study’s management both of formal education, non formal education and informal education. The results of the research are presented for two points: 1) the model of the HISBAH process was suitable for construction participation in member of community for Islamic study management there were 6 steps; (1) step of development of volunteer to be leader, (2) step of creating framework of Mutasif’s group, (3) step of making understanding in community about Hisbah process, (4) step of the verification of community’s present situation by member in community, (5) step of assign the requirement of community on education and (6) step of integrate requirement to performer and finding the result. 2) the effectiveness of using Hisbah In Kalisa showed that can create sense of participation between member in community, reduced conflict and finding cooperation. Changed the way of dependent capitism to self-reliance and searching the local wisdom for integrated with Islamic study management.
Keywords: Islamic Studies, participation building, Hisbah
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.49
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus