ความผาสุกทางจิตวิญญาณและจิตวิญญาณในการทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้

เพ็ญศรี วัฒยากร, วิมลรัตน์ จงเจริญ, ประภาพร ชูกำเหนิด

Abstract


การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณ ระดับจิตวิญญาณในการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างความผาสุกทางจิตวิญญาณกับจิตวิญญาณในการทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยมากกว่า 1 ปี จำนวน 155 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายแบบไม่คืนที่ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความผาสุกทางจิตวิญญาณของหัวหน้าหอผู้ป่วย และส่วนที่ 3 จิตวิญญาณในการทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถาม ส่วนที่ 2 และ 3 ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.93 และ 0.97 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlative coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า ความผาสุกทางจิตวิญญาณของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวม (X=4.04, SD=0.64) และรายด้าน สำหรับจิตวิญญาณในการทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวม (X_=4.12, SD=0.50) และรายด้าน และ พบว่า ความผาสุกทางจิตวิญญาณมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับจิตวิญญาณในการทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.71, p<.01)

คำสำคัญ: ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, จิตวิญญาณในการทำงาน, หัวหน้าหอผู้ป่วย

 

The objectives of this descriptive research were to examine: 1) the levels of spiritual well-being and spirituality at work of head nurses, and 2) the relationship between spiritual well-being and spirituality at work of head nurses. The subjects, recruited by simple random sampling, were 155 head nurses who had working experiences of more than 1 year in general hospitals, southern Thailand. The research instruments were the questionnaires developed by a researcher comprised of the demographic data form, the Spiritual Well-being items, and the Spirituality at Work questions.They were tested for content validity by three experts, yielding CVIs of 0.93 for spiritual well-being and 0.97 for spirituality at work. Their reliabilities using alpha coefficient, yielded the values of 0.91 and 0.95 respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The results showed that the mean total score of spiritual well-being was at high level (X=4.04, SD=0.64) and each dimension had a mean score at high level. The mean score of spirituality at work was at a high level (X=4.12, SD=0.50) and each dimension had a mean score at high level. The spiritual well-being showed a statistically significant positive high correlation with spirituality at work of head nurses (r=.71, p<.01)

Keywords: spiritual well-being, spirituality at work, head nurses


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.41

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus