การวิเคราะห์คุณลักษณะทางสารสนเทศเพื่อกำหนดองค์ประกอบเมทาดาตาของจารึก

วิศปัตย์ ชัยช่วย, ลำปาง แม่นมาตย์, วิลาศ วูวงศ์, นิศาชล จำนงศรี

Abstract


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ กายภาพ และบริบทของจารึกในประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ จารึกสมัยสุโขทัยและอยุธยา (ระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23) จำนวน 42 รายการ ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร (documents analysis approach) ตามแนวการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของทรัพยากรสารสนเทศ (features of information) ผลการวิเคราะห์จารึกทำให้สามารถกำหนดองค์ประกอบเมทาดาตาของจารึกได้ 19 องค์ประกอบใน 3 ด้าน แบ่งออกเป็น 1) ด้านเนื้อหา 5 องค์ประกอบ คือ กลุ่มเนื้อหา โครงสร้างเนื้อหา ชื่อจารึก ยุคสมัย ผู้สร้าง 2) ด้านกายภาพ 7 องค์ประกอบ คือ วัสดุบันทึกรูปลักษณ์ ขนาด จำนวนด้านและบรรทัด อักษร ภาษา และ 3) ด้านบริบท 8 องค์ประกอบ คือ เลขทะเบียน ที่พบ ที่อยู่ดั้งเดิม ที่อยู่ปัจจุบัน ประวัติการได้มา ผู้อ่าน แปล หรือให้คำปรึกษา สำเนาจารึก การพิมพ์เผยแพร่

คำสำคัญ: จารึก, เมทาดาตา, สารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม

 

The objective of this research was to analyze Thai inscription features including content, physical and context. The study samples consisted of 42 items of Sukhothai and Ayutthaya inscription (14th-18th Centuries A.D.). The data was analyzed by document analysis approach based on features of the information. The study reveals that the inscription metadata element has 19 elements which can be grouped into 3 groups: 1) Content: topic and structure of content, title, period, and creator 2) Physical: material, appearance, dimension, sides and lines, script, and language and 3) Context: registration number, founded location, history of discovery, translator and advisor, product type of inscription, and bibliography.

Keywords: inscription, metadata, cultural heritage information


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.4

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus