รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุก ตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน
Abstract
การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากล ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์เชิงลึก รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน ระบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน แบบประเมินคุณธรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการของรูปแบบ และ 4) การวัด ประเมินผล และติดตามผล
2. กระบวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นการเตรียมความพร้อม 2) ขั้นการเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย คือ การเร่งเร้าความสนใจใฝ่คุณธรรม การบอกวัตถุประสงค์คุณธรรม การทบทวนความรู้คุณธรรมเดิม (2) ขั้นการเรียนรู้เชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากล ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย คือ การนำเสนอคุณธรรมใหม่ การชี้แนะแนวทางการเรียนรู้คุณธรรม การกระตุ้นการตอบสนองคุณธรรม การให้ข้อมูลคุณธรรมย้อนกลับ และ (3) ขั้นสรุปคุณธรรมของเยาวชน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย คือ การทดสอบคุณธรรม และการสรุปและนำคุณธรรมไปใช้ และ 3) การวัด ประเมินผล และติดตามผล
3. เยาวชนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสามมีคะแนนคุณธรรมหลังเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชน (X=24.324, S.D.=5.701) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (X=13.290, S.D.=7.890) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. เยาวชนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสามที่เข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงรุกตามหลักความดีพื้นฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของเยาวชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X=4.329, S.D.=0.044) เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
คำสำคัญ: เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, การมีส่วนร่วมเชิงรุก, หลักความดีพื้นฐานสากล, คุณธรรม, เยาวชน
This research was to create an application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral. The research was to mix qualitative and quantitative research methodology. The objectives were to develop and study the implementation of application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral. The research methodology was divided into 3 phases. The first phase was to study the conceptual framework of application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement. The second phase was to develop the application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral. The third phase was to study the implementation of application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral. The research instruments were the content analysis form, the in-depth interview form, the application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral, the information technology and communication system according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral, the morality test, and the evaluation form of satisfaction. The data were statistically analyzed by mean, standard deviation, and t-test dependent.
The research findings were as follow:
1. The application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral consisted of 4 components; principles, objectives, process, and evaluation.
2. The enhancement process of proactive participation with global merit improvement to enhance Thai youth moral comprised of 3 main steps: 1) Preparation, 2) Enhancement of Thai youth moral using information technology and communication that composed of (1) Introduction (motivation for moral attention, identify the moral objective, and revision of prior moral), (2) Process of proactive participation with global merit improvement (presenting new moral, guiding the moral learning, stimulating the moral response, and giving feedback of moral), and (3) Summarize the youth moral (test of moral and synopsis and apply the moral), and 3) Evaluation
3. The youth in Khlongsam Sub-district Administrative Organization gained the moral posttest score significantly higher than the pretest score at the level of .01. (Posttest-X=24.324, S.D.=5.701, Pretest-X=13.290, S.D.=7.890)
4. The youth in Khlongsam Sub-district Administrative Organization satisfied the application model of information technology and communication according to proactive participation with global merit improvement at the level of “much” (X=4.329, S.D.=0.044).
Keywords: information technology and communication, proactive involvement, global merit principle, morality, youths
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.26
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus