พฤติกรรมการรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ, ฤทัยชนนี สิทธิชัย, ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น, ฐะปะนีย์ เทพญา

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรู้สารสนเทศเพื่อการทำงานที่ได้รับมอบหมาย และเพื่อการค้นคว้าในชีวิตประจำวัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 ของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 871 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, t-test และ ANOVA

ผลการวิจัยได้นำเสนอเป็น 6 ประเด็น คือ 1) ลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายในการเรียนและหัวข้อที่นักศึกษาค้นคว้าในชีวิตประจำวัน 2) การใช้ทรัพยากรในการศึกษาค้นคว้าและเครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการทำงานที่ได้รับมอบหมายและเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 3) การประเมินสารสนเทศจากห้องสมุดและจากเว็บไซต์เพื่อการทำงานที่ได้รับมอบหมายและเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 4) แนวทาง วิธีการ รูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศของนักศึกษาเพื่อการทำงานที่ได้รับมอบหมาย 5) ปัญหาและอุปสรรคของนักศึกษาในกระบวนการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการทำงานที่ได้รับมอบหมายและเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 6) บทบาทของบรรณารักษ์ในการประเมินแหล่งข้อมูลและสารสนเทศให้แก่นักศึกษา รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย บรรณารักษ์ อาจารย์ และนักศึกษา

คำสำคัญ: การรู้สารสนเทศ, พฤติกรรมการรู้สารสนเทศ, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

The purpose of this research was to study information literacy behaviors for course-related research assignments and for everyday life research of undergraduate students of Prince of Songkla University at Hatyai, Pattani, Phuket, Surat Thani, and Trang campuses. A sample group of 871 students was drawn from the second-year to fourth-year students who enrolled in the first semester of academic year 2010. The research tool used was the questionnaire. Statistics used for data analysis were percentages, mean and standard deviation, Chi-square test, t-test, and ANOVA.

Research findings were presented on 6 topics: 1) students’ course-related research and everyday life research assignments 2) students’ use of information resources and search tools for course-related research and everyday life research assignments 3) evaluation of information from libraries and websites for course-related research and everyday life research assignments 4) students’ approaches to information seeking for course-related research assignments 5) students’ problems in information seeking processes for course-related research and everyday life research assignments 6) roles of librarians in information resources evaluation for students’ use. Specific recommendations were proposed to university executive officers, library directors, librarians, lecturers, and students. 

Keywords: Information Literacy, Information Literacy Behaviors, Students, Prince of Songkla University


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.23

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus