การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์

ฑีรณัท ขันนาค, สุทัศน์ นาคจั่น

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการใช้นิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกทักษะการฟัง ดำเนินการวิจัยแบบทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรกิตทัตตานนท์ที่เลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษที่มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.20/85.40 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2) ความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝึกทักษะการฟังโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านจากค่าเฉลี่ยสูงที่สุดลงไป ได้แก่ ด้านภาพประกอบสวยงามและเหมาะสมกับเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหาบทเรียนเหมาะสมน่าสนใจ และการเข้าถึงเนื้อหาที่สะดวกและรวดเร็ว ตามลำดับ

คำสำคัญ: หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์, ภาษาอังกฤษ, ความสามารถด้านการฟัง

 

The purposes of this research were to: 1) examine the efficiency of electronic story books used in English listening, 2) compare Prathomsuksa 4 students’ English listening ability before and after the use of electronic story books, and 3) determine the students’ satisfaction towards learning English listening skills through of story E-books. The participant 20 Prathomsuksa 4 students at Traikittattanon School The research instruments were electronic story books, lesson plans, tests of English listening skills, and a questionnaire on students’ satisfaction. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, and t-test. The results of this study as follow: 1) The efficiency of the electronic story books used to enhance the students’ listening skill was found to be at 81.20/85.40, which was higher than the standardized criterion 80/80, 2) The English listening ability of the students before and after learning was significantly different at the 0.01 level. The after-learning mean score was higher than that of before learning, and 3) The Prathomsuksa 4 students at Traikittattanon School were highly satisfied with the electronic story books used to improve their listening skill. When each aspect was considered, it was found that the aspect with the highest mean was beautiful illustrations and appropriate content, presentation appropriate lessons interesting, and access content faster and easier, respectively.

Keywords: electronic story books, english, listening ability


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.35

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus