ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ปินา สุขเจริญ, สุมาลี ชัยเจริญ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนก้าวหน้า อําเภอจันทบุรี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบหลังเรียน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน พบว่า ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตามกรอบการแก้ปัญหาของ Polya (1957) ดังนี้ (1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (2) ขั้นวางแผนแก้ปัญหา (3) ขั้นดำเนินการตามแผน และ (4) ขั้นตรวจสอบผล 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 80.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียน ผ่านเกณฑ์ 70% ของคะแนนเต็ม และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย และด้านการออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ มีการออกแบบที่เหมาะสมและช่วยสนับสนุนและส่งเสริมในการเสาะแสวงหาความรู้และช่วยในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์

คำสำคัญ: สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย, คอนสตรัคติวิสต์, การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

 

This study was aimed to study the problem-solving in Mathematics, learning achievement, and opinions of the Mathayomsuksa 1 students who learned with the Constructivist web-based learning environment to enhance learners’ problem-solving in mathematics for the 7th Grade Students in the Democratic Republic of Laos. The target group was the 36 students in 7th grade at Kaona School, Chanthabouly District, Vientiane Capital, Lao P.D.R in the first semester of the academic year 2015. The pre-experimental design, one-shot case study was employed in this study. Both qualitative and quantitative data were collected and analyzed.

The results revealed that: 1) learners’ problem-solving in mathematics consisted of the 4 procedures based on Polya’s principles (1957) as followings: (1) understand the problem, (2) devise a plan, (3) carry out the plan, and (4) look back 2) learner’s achievement score X_=80.37, S.D. 1.88 passed 70% criterion of the specified score and 3) learners’ opinions toward the learning environment was found that the learning content aspect, web-based learning environments, and designing of the learners’ problem-solving in mathematics appropriate and able to be used to support and foster in knowledge acquisition, and problem-solving in mathematics.

Keywords: web-based learning environments, constructivist, problem solving


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.34

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus