การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางปัญญาที่ส่งเสริมการประมวลสารสนเทศ โดยการบูรณาการระหว่างศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางปัญญาที่ส่งเสริมการประมวลสารสนเทศ โดยการบูรณาการระหว่างศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินกรอบแนวคิดการออกแบบฯ และการออกแบบนวัตกรรมทางปัญญาฯ จำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมทางปัญญาฯ จำนวน 3 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) แบบ Type I ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการออกแบบ และ 2) กระบวนการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและกรอบแนวคิดการออกแบบ รวมทั้งออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางปัญญา และ 3) กระบวนการประเมิน เป็นการประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมทางปัญญาฯ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาซึ่งอาศัยพื้นฐานจากกรอบแนวคิดการออกแบบ (Designing framework) และแปลงทฤษฎีสู่การปฏิบัติโดยทำการออกแบบและพัฒนา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) คลังคำศัพท์ 3) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา 4) ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ศูนย์ฐานการช่วยเหลือ 6) ศูนย์ฝึกหัดทางปัญญา และ 7) ศูนย์ส่งเสริมการประมวลสารสนเทศ และพบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพในกระบวนการประเมิน (Evaluation process) มีคุณภาพที่เหมาะสมทั้ง 5 มิติ คือ 1) การประเมินผลผลิต 2) การประเมินบริบทการใช้ 3) การประเมินด้านความคิดเห็นของผู้เรียน 4) การประเมินด้านความสามารถทางปัญญา และ 5) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
คำสำคัญ: นวัตกรรมทางปัญญา, ศาสตร์การสอน, ประสาทวิทยาศาสตร์, การประมวลสารสนเทศ, การใส่ใจ
The purpose of this research was to design and develop a cognitive innovation to enhance learners’ information processing integration between pedagogy and neuroscience. The target group were the 3 experts who reviewed document and designing framework and the 3 experts to evaluate the cognitive innovation. Research designs was the Developmental Research Type 1 which comprising of 3 processes: 1) Design Process and 2) Development Process, which comprising of synthesis of theoretical and designing framework design and develop the cognitive innovation and 3) Evaluation Process which evaluated the efficiency of the cognitive innovation. The results were revealed that: the synthesis of the designing framework based on theoretical framework , and transform theory into practicing by design and development of cognitive innovation. Comprised of 7 components as the following: 1) Problem base, 2) Vocabulary center, 3) Cognitive tool center 4) Center for collaborative learning, 5) Scaffolding, 6) Coaching, and 7) Center for enhancing information processing; and reviewed the effectiveness by experts in the evaluation process as follows: 1) Product assessment, 2) Contextual utilization assessment, 3) Learner’s opinions assessment, 4) Assessment of learners’ cognitive ability, and 5) Assessment of learning achievement.
Keywords: cognitive innovation, pedagogy, neuroscience, information processing, attention
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.19
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus