การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้าน ทำการศึกษาแบบเชิงพรรณนาและอรรถาธิบาย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 942-243 การเมืองการปกครองของกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Politics and Government) จำนวน 66 คน ในภาคการศึกษาที่ 1/2558 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบ Enter และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการร่วมมือและในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ ปัจจัยการเตรียมความพร้อม มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลทางบวก สำหรับปัญหา อุปสรรคการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า การศึกษาด้วยตนเองทำให้ได้รับความรู้ที่ไม่เพียงพอต่อการศึกษา ในส่วนของข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการส่งเสริมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและแหล่งการศึกษาเรียนรู้

คำสำคัญ: การพัฒนา, การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21, ห้องเรียนกลับด้าน

 

The purposes of this research are three fold: 1) to describe and explain the level of learning and innovation skills, 2) to investigate the factors affecting the level of learning and innovation skills, and 3) to study the problems and suggestions as described in 21st century learning in flipped classroom, which proposes a model where by students undertake self-directed learning. The target group of this descriptive and explanatory study consists of 66 students in Public Administration in the Faculty of Liberal Arts and Management Science, Prince of Songkla University, Surat Thani Campus. They were enrolled to study 942-234 ASEAN Politics and Government in 1/2015. The data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, and multiple regressions.

The main findings are summarized as follows: 1) With regard to the level of learning and innovation skills, the established collaboration was at a high level. 2) With reference to the factors affecting the level of learning and innovation skills, preparedness was positively correlated with, and influential on student learning and innovation skills. 3) Based on the current study, the students reported that what they learned from self-study technique was inadequate for their study, therefore, it was concluded that most importantly, the university should provide a more extensive range of topical, relevant resources and educational technologies for students.

Keywords: development, 21st century learning, flipped classroom


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.9

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus