การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างเครื่องมือวัดความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนทั้ง 5 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตภูเก็ต การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 290 คน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง -0.14 ถึง 0.95 เรียงค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สภาพแวดล้อมในงาน คุณลักษณะของงาน ผลลัพธ์ที่คาดหวังของงาน ความพึงพอใจในชีวิต ความพึงพอใจในงาน ความรู้สึกทางบวก และความอดทนต่อสถานการณ์ทางลบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95, 0.94, 0.91, 0.91, 0.84, 0.78, 0.68, และ -0.14 ตามลำดับ และผลการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างโมเดลองค์ประกอบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีดังนี้ ค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 407.70 ค่าความน่าจะเป็น (p)=1.000 ที่องศาอิสระ 595 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.037 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.000
คำสำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความสุขในการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
The purpose of this study was to develop a composite indicator of work happiness. The sample of the administrative Staff of Prince of Songkla University from 5 Campuses, which were, Pattani, Hatyai, Surattani, Trang, and Phuket Campus. Sample were derived from a proportionate stratified random sampling totally 290 staff. Descriptive statistics were used by analytical statistics program and examined the construct validation of the test by a confirmatory factor analysis through LISREL.
Results indicated that the model was consistent with an eight-aspect model and fit the data well. Ranging from the highest aspect loading value to the lowest, they were from -0.14 to 0.95 respectively: Relationship, Work Environment, Job characteristics, Desirable Outcome, Life Satisfaction, Job Satisfaction, Positive Affect and Negative Affect. The multiple R-square relationships between each aspect and the work happiness were 0.95, 0.94, 0.91, 0.91, 0.84, 0.78, 0.68, and -0.14 respectively. The construct validity of models was consistent with empirical data, with chi-square goodness of fit test at 407.70 with 595 with degrees of freedom; p=1.000; Goodness of Fit Index (GFI) = 0.94; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI)=0.90; Comparative Fit Index (CFI)=1.00; Standardized Root Mean Square Residual (SRMR)=0.037, and Root mean Square Error of Approximation (RMSEA)=0.000
Keywords: confirmatory factor analysis, work happiness, administrative staff of Prince of Songkla University
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.15
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus