ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ นวัตกรรมองค์การที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์การ: ศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

พีรวุฒิ ศิริศักดิ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การและนวัตกรรมองค์การที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 2) เพื่อตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของ SMEs 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ทั้งทางตรงและทางอ้อม 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ SMEs การวิจัยประกอบไปด้วย 2 วิธีวิทยาการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ SMEs จำนวน 1,000 องค์การ โดยวิธีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากข้อมูลของฝ่ายข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 323 องค์การ (คิดเป็น 32.3%) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลและการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของโมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling) โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ผ่านความคิดสร้างสรรค์ในองค์การและนวัตกรรมองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ผ่านความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ผ่านนวัตกรรมองค์การ ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อนวัตกรรมองค์การความคิดสร้างสรรค์ในองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อนวัตกรรมองค์การและมีอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ผ่านนวัตกรรมองค์การ ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ผ่านนวัตกรรมองค์การ นวัตกรรมองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อผลการดำเนินงานของ SMEs
2. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ผลการทดสอบพบว่าค่าสถิติไค-สแควร์ (x2) มีค่าเท่ากับ 41.17 องศาอิสระมีค่าเท่ากับ 29 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.06649 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (x2/df) มีค่าเท่ากับ 1.419 ค่าดัชนีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.037 ค่าดัชนีการเข้าได้เชิงสัมพัทธ์ (CFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีการใช้ได้ดีของการเข้ากับข้อมูล (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีการใช้ได้ดีที่มีการปรับแก้ (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.94 ค่ามาตรวัดสรุปส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) มีค่าเท่ากับ 0.055 ค่าดัชนีการเข้าได้เชิงสัมพัทธ์ (NNFI) มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีการเข้าได้เชิงสัมพัทธ์ (CFI) มีค่าเท่ากับ 1.00
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การและนวัตกรรมองค์การตามลำดับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของ SMEs ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ
4. ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ SMEs ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของกิจการหรือทายาทกิจการเพื่อเป็นส่วนเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงปริมาณ

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ, นวัตกรรมองค์การ, ผลการดำเนินงานขององค์การ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

 

This research aimed 1) to study the impact of transformational leadership, organizational creativity, and organizational innovation on SME performance in Thailand 2) to investigate the relationship model of the factors influencing the performance of small- and medium-sized enterprises (SMEs) 3) to study the factors which directly influencing to the performance of SMEs and 4) to study affect factors toward the success of SMEs. This research was composed of 2 research methodologies: quantitative research and qualitative research. The simple random sampling of 1,000 SMEs brought from the Office of SMEs Promotion (OSMEP). Research instruments were composed of questionnaires and semi-structure interview. The respondents were 323 organizations (32.3%). The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation, model goodness-of-fit statistics and structural equations modeling by using LISREL. The results were briefly stated as follows:
1. Transformational leadership had a direct positive effect on the performance of SMEs. Transformational leadership had an indirect positive effect on the performance of SMEs through organizational creativity and organizational innovation. Transformational leadership had an indirect positive effect on the performance of SMEs through organizational creativity. Transformational leadership had an indirect positive effect on the performance of SMEs through organizational innovation. Organizational creativity had a direct positive effect on organizational innovation. Organizational creativity had a direct positive effect on the performance of SMEs. Organization creativity had a direct positive effect on organizational innovation and an indirect positive effect on the performance of SMEs through organizational innovation. Organizational creativity had an indirect positive effect on the performance of SMEs through organizational innovation. Organizational innovation had a direct positive effect on the performance of SMEs.
2. The relationship model of the factors influencing the performance of SMEs were Chi-square (x2)=41.17, degree of freedom (df)=29, p-value=0.06649, Chi-square (x2/df)=1.419, RMSEA=0.037, CFI=1.00, GFI=0.98, AGFI=0.94, SRMR=0.055, NNFI=0.99, CFI=1.00
3. The factors directly influencing to the performance of SMEs were transformational leadership, organizational creativity and organizational innovation respectively. And the factors which indirectly influencing to the performance of SMEs were transformational leadership and organizational creativity.
4. The in-depth interview of a qualitative research method was used in studying affect factors toward the success of SMEs to supplement a quantitative research method.

Keywords: transformational leadership, organizational creativity, organizational innovation, organizational performance, small- and medium-sized enterprises


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.32

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus