การวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

มนูญ เศษแอ, ชวลิต เกิดทิพย์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาระดับองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเปรียบเทียบองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำแนกตามพื้นที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2556 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 800 คน จาก 34 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .842 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ใช้วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบสำคัญ (principal component analysis)
แล้วหมุนแกนด้วยวิธี Varimax ทดสอบค่า F และ เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของ Scheffe

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 7 องค์ประกอบ คือ (1) การเน้นการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง (2) การสื่อสารอย่างเป็นกัลยาณมิตร (3) การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง (4) การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (5) ทีมคุณภาพ (6) การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ (7) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 2) ผู้บริหารและครูในสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทัศนะต่อองค์ประกอบวัฒนธรรมของสถานศึกษารางวัลพระราชทานทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก และ 3) ผู้บริหารและครูในสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานต่างกันมีทัศนะต่อองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษารางวัลพระราชทาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารและครูจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสมีทัศนะต่อองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพสูงกว่าจังหวัดยะลา

คำสำคัญ: วัฒนธรรมคุณภาพ, สถานศึกษารางวัลพระราชทาน, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

The objectives of this research were to analysis the factor of quality culture in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas, to study the level of factor analysis quality culture in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas and to compare factor analysis quality culture in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas as perceived by administrators and teachers in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas in the Three Southern Border Provinces regard to areas of practice. The samples of the study were administrators and teachers in schools receiving royal awards since 2011-2013 in Three Southern Border Provinces government schools and private schools were 800 persons from 34 schools. The research instrument was rating scale questionnaire which reliability was .842. Percentages, arithmetic mean, standard deviation exploratory factor analysis, analysis of factor by principal component analysis and rotated axis by Varimax Method, F-test and multiple comparisons by Sheffe’s method were used for data analysis.

The results were summarized as follows: 1) A factor analysis quality culture in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas in the Three Southern Border Provinces have 7 factors: (1) Continuing operations (2) Friendly communication (3) Continuous staff development (4) Attention to all stakeholder (5) Quality teams (6) Motivation (7) Shared vision. 2) Administrators and teachers in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas in the Three Southern Border Provinces attitude for all factor analysis quality culture in schools receiving royal awards was at a high level. 3) Administrators and teachers in schools receiving royal awards under Basic Education Service Areas in the Three Southern Border Provinces with different areas of operation attitude for factor analysis quality culture in schools receiving royal awards overall significantly different was at 0.1. The administrators and teachers’ perceived in Pattani and Narathiwat were higher than the administrators and teachers’ perceived in Yala.

Keywords: quality culture, schools receiving royal awards, Three Southern Border Provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.23

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus