การจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมกับรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ศึกษาแม่น้ำท่าจีนตอนกลาง

อาทิตย์พงษ์ สุทธิรักษ์, สามัคคี บุณยะวัฒน์, นฤชิต ดำปิน

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนตอนกลาง วิธีการระบายน้ำเสียที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนเสื่อมโทรม ขอบเขตการศึกษา คือ ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนตอนกลางลึกเข้าไปในแผ่นดิน ระยะ 300 เมตร โดยมีวิธีการศึกษาด้วยการจำแนกลักษณะการตั้งถิ่นฐานแบบต่างๆ ในพื้นที่ศึกษา และใช้แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลโดยถามประชาชนที่เกี่ยวข้อง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ ร่วมกับการจัดการน้ำเสียชุมชนที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยการวิเคราะห์ SWOT ของแต่ละรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน เพื่อหาวิธีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมของลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน และวิเคราะห์ระบบบำบัดน้ำเสีย

จากการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษามีลักษณะการตั้งถิ่นฐานทั้งหมด 3 รูปแบบคือ 1) การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม (cluster settlement) 2) การตั้งถิ่นฐานแบบเส้นตรง (line settlement) และ 3) การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย (scattered settlement) ทั้ง 3 ลักษณะการตั้งถิ่นฐานมีวิธีการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีนที่แตกต่างกัน คือ 1) การปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีนโดยตรง 2) การปล่อยน้ำเสียลงในท่อรวมน้ำเสียของเทศบาล และ 3) การปล่อยน้ำเสียลงสู่พื้นดินบริเวณบ้าน ซึ่งน้ำเสียส่วนใหญ่ถูกระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีนโดยไม่ผ่านการบำบัด โดยการจัดการน้ำเสียที่แตกต่างกันสัมพันธ์กับลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกัน การบำบัดน้ำเสียแบบติดตั้งอยู่กับที่ประเภทถังดักไขมันแยกเศษอาหาร จำเป็นต้องมีทุกครัวเรือน เพื่อเป็นการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นก่อนปล่อย และการบำบัดแบบรวมศูนย์กลางเหมาะสมกับ การตั้งถิ่นฐานแบบกระจายและแบบรวมกลุ่ม เพราะมีปริมาณน้ำเสียมากและพื้นที่จำกัด

วิธีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานแต่ละประเภท โดยการเลือกระบบบำบัดให้สอดคล้องกับปริมาณและประเภทของน้ำเสีย โดยคำนึงถึงสภาพโดยรวมของพื้นที่ จะทำให้ระบบบำบัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับน้ำเสียในพื้นที่ได้ทั้งหมด

คำสำคัญ: การจัดการน้ำเสีย, แม่น้ำท่าจีน, ชุมชน, การตั้งถิ่นฐาน

 

A study of wastewater management suitability for settlement pattern at middle part of Tha-Chin River communities stared from Pho-Praya floodgate, Meung district, Supanburi province to Nakhonchaisri district, Nakhonpatom province and have buffer 300 meters from riverside. Tools for collect data are questionnaire, in-depth interview question and SWOT analysis.

Result of the study, there are three settlement patterns. First is Cluster settlement. Second is Line settlement. And, last is Scattered settlement. There are different wastewater management methods for each settlement. For instance, Discharge untreated wastewater directly into the river, discharge into central sewer system or discharge into land. An appropriate wastewater management method is depending on a type of settlement pattern. An Individual on-side treatment system is appropriate for Line settlement. Both, Individual on-side and clustered wastewater treatment system are appropriate for Scattered settlement. A clustered wastewater treatment system is appropriate for Cluster settlement.

A suitable method for each settlement should choosing a treatment system conform with quantity and type of wastewater. However, should concern about an area physical because it effect to efficiency of treatment system.

Keywords: wastewater management, Tha-Chin River, communities, settlement


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.14

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus