ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ธีระวรรณ สุธรรม, ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน 2) เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน อายุระหว่าง 25-45 ปี มีสุขภาพแข็งแรง จำนวน 30 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (simple random sampling) ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ทั้งสองกลุ่มใช้เวลาในการทดลอง 30 นาที/วัน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวัดสุขสมรรถนะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง สัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test (Independent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measure) หากพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี HSD (Honestly Significant Difference) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลวิจัยพบว่า
1. ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานของกลุ่มการเดินเร็ว มีสุขสมรรถนะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์ประกอบของร่างกาย ด้านความอ่อนตัว ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมพบว่ามีค่าระดับมาก (X=4.32)
2. ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานของกลุ่มการเต้นแอโรบิก มีสุขสมรรถนะ 2 ด้าน ได้แก่ สุขสมรรถนะด้านองค์ประกอบของร่างกายและด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมพบว่า มีค่าระดับมาก (X=4.29)
3. ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานระหว่างกลุ่มการเดินเร็วและกลุ่มการเต้นแอโรบิก มีสุขสมรรถนะด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มการเดินเร็วมีสุขสมรรถนะด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจดีกว่ากลุ่มการเต้นแอโรบิกภายหลังสัปดาห์ที่ 4 สำหรับการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมพบว่า กลุ่มการเดินเร็วมีค่าความพึงพอใจในช่วงผ่อนคลายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อมากกว่ากลุ่มการเต้นแอโรบิก

สรุปการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วและการเต้นแอโรบิก ส่งผลดีต่อการพัฒนาสุขสมรรถนะ โดยกลุ่มการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วมีสุขสมรรถนะความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจดีกว่า และใช้เวลาฝึกน้อยกว่ากลุ่มการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกเหมาะสำหรับนำไปส่งเสริมสุขภาพและสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายได้

คำสำคัญ: การออกกำลังกายแบบแอโรบิก, สุขสมรรถนะ, น้ำหนักเกิน

 

The purpose of this research are to 1) study the effect of aerobic dance on health-related physical fitness in the overweight people 2) compare the effect of aerobic dance on health-related physical fitness in the overweight people 3) study the satisfaction of aerobic dance effect on health-related physical fitness in the overweight people. For the sampling group of this research, the sampling group is 30 overweight female volunteers who are between 25-45 years old and healthy, it can be equally divided into 2 groups (n=15): the first group performs the brisk walking and the second group does the aerobic dance that both groups of this research perform the assigned exercise for 30 minutes/day, 3 days/week for 8 weeks. In this case, the health-related physical fitness is assessed before 4 weeks of research and after 8 weeks of experiment. Afterwards data of research is statistically analyzed in terms of mean and standard deviation, T-Test (Independent samples) and one-way analysis of variance with repeated measure, HSD (Honestly Significant Difference) will be used for comparing each couple data with statistical significance .05

The results are illustrated as follows:
1. For the overweight samples of walking speed exercise group, there were significant differences (P<0.05) in 4 domains of health related fitness such as body components, softness, strength of muscles and blood Using and between circulatory and respiration system tolerance. The result of overall satisfaction evaluation was in high level (X=4.32)
2. For the overweight samples of aerobic dance exercise group, there was no significant difference (P<0.05) in 2 domains of health related fitness such as body components and blood circulatory-respiration system tolerance. The result of overall satisfaction evaluation was in high level (X=4.29)
3. The comparison between overweight samples of aerobic dance and walking speed exercise group resulted in the significant difference (P<0.05) in the health related fitness domain of blood circulatory-respiration system Satisfaction. The walking speed exercise group has higher performance in that domain after 4th week of training. The result of overall satisfaction evaluation showed the higher level of satisfaction in walking speed group in relaxation and muscle stretching.

We concluded that both walking speed and aerobic dance exercise have advantages for health related fitness development. The walking speed exercise group has greater blood circulatory-respiration system tolerance and less training time than aerobic dance group. That is suitable for wholesomeness and selective for exercises.

Keywords: aerobic exercise, health related physical fitness, overweight


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.38

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus