ความยุติธรรมทางสังคมกับการจัดการศึกษา

ภิรมย์ จีนธาดา, เอกรินทร์ สังข์ทอง, เรชา ชูสุวรรณ

Abstract


ในบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน ความยุติธรรมทางสังคมเป็นประเด็นและปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความยุติธรรมทางสังคมกับการจัดการศึกษานั้น มีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตามมุมมองเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคมของนักการศึกษายังคงมีความแตกต่างและเป็นที่ถกเถียงกัน การทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดเบื้องต้นของความยุติธรรมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุติธรรมทางสังคมในการจัดการศึกษาในบริบทของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสิ่งจำเป็น บทความนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอเกี่ยวกับแนวคิดเบื้องต้น ความสำคัญ และแนวทางในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมในการจัดการศึกษา ซึ่งประเด็นทั้งหมดนี้มีความสำคัญกับนักการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการให้ความสำคัญกับความยุติธรรมทางสังคมในการจัดการศึกษาจะช่วยให้การจัดการศึกษามีความสอดคล้องกับความหลากหลายทางสังคม ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

คำสำคัญ: ความยุติธรรมทางสังคม, ความยุติธรรมในการจัดการศึกษา, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

In the current context of social change, social justice is a critical issue and factor that is very important for education management, especially the education management that fits cultural diversity. Thus, it is apparent that there is a relationship between social justice and education management. However, educators’ perspectives on social justice are still different and contested. Having a correct understanding about the basic concept of social justice, especially social justice in education in the context of the three southern border provinces of Thailand is essential. In this article, the authors aim to present basic concepts, significance and the promotion of social justice in education. These issues are important to educators and those who are involved in education. The correct understanding and scrutiny of related stakeholders on social justice in education will help them manage education appropriately and meet interpersonal differences as well as help develop students’ learning potential.

Keywords: social justice, social justice in education, the three southern border provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.45

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus