นาฏยศิลป์พื้นเมืองมลายูปาตานี

เจษฎา เนตรพลับ, วีรชาติ เปรมานนท์

Abstract


การศึกษาเรื่อง “นาฏยศิลป์พื้นเมืองมลายูปาตานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการ วัฒนธรรม ความเชื่อ และรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์พื้นเมืองในวัฒนธรรมมลายูปาตานี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์พื้นเมืองจากข้อมูลศิลปวัฒนธรรมและนาฏยศิลป์พื้นเมืองของชาวมลายูปาตานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับวิธีการสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ (The Choreographic Approach) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสร้างสรรค์ประกอบด้วย ข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ รวมไปถึงศิลปินพื้นเมือง คณาจารย์ทางด้านนาฏยศิลป์ ผู้นำศาสนาอิสลาม นักวิชาการ การทดลองสร้างสรรค์และสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การเก็บข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน 2553 ถึงเดือนธันวาคม 2557 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการวิจัยสร้างสรรค์ทำให้ได้ผลงานนาฏยศิลป์ แนวทางการออกแบบ และกระบวนการออกแบบ (Choreography) นาฏยศิลป์พื้นเมืองที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลวัฒนธรรม เรื่อง “ว่าววงเดือน” (Wau Bulan) ของชาวมลายูปาตานี โดยคำนึงถึง 1) องค์ประกอบของการแสดงทางด้านนาฏยศิลป์ 2) เอกลักษณ์ของนาฏยศิลป์พื้นเมืองมลายูปาตานีแบบดั้งเดิม และ 3) บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชาวมลายูปาตานีสมัยปัจจุบัน

คำสำคัญ: นาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์พื้นเมือง, มลายูปาตานี

 

The research entitled ‘The Traditional Dance of Malay Patani’ is a research incorporating to the local art, culture, and traditional dance of Malay Patani into a new dance form by applying the qualitative research method in conjunction with the choreographic approach. The study aims to examine the identity of the local art, culture, and the traditional dance of Malay Patani and design a novel form of dance, placing emphasis on the Wau Bulan. The data has been collected from relevant documents, field observation, dance creation and trials, and other sources of information from June 2010 until December 2014. The documentary search focused on the development and beliefs pertaining to the local art, dance, and culture of Malay Patani. Interviews were also conducted with local artists, dance art lecturers, Islam religious leaders, and academics. The research results provided concepts and guidelines for designing a new dance pattern of Patani dance art taking into account the elements of dance, the unique of Patani traditional dance and the cultural context of the Malay Patani at present.

Keywords: the traditional dance, dance of Malay Patani, choreography


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.16

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus