การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

กนกวรรณ เต็มโศภินกุล

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 315 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของข้าราชการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีช่วงอายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทางบวกในระดับปานกลาง

คำสำคัญ: การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

 

The objectives of this study were to study the perceptions of organizational support and organizational commitment of civil officials, to compare the differences between personal factors and the organizational commitment of civil officials, and to study the relationship between the perceptions of organizational support and organizational commitment of civil officials. The sample consisted of civil officials in the DJOP, a total of 315 persons. Data was collected by questionnaire. The statistical methods used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and correlation analysis.

The results of the study were as follows: the overall average for the level of perceptions of organizational support was moderate, and the overall average for the organizational commitment was high. The results of differences comparison showed that the differences in genders, ages, education levels and incomes were significantly different for organizational commitment. The results of correlation analysis showed that the perceptions of organizational support had a statistically significant positive correlation with the organizational commitment at the .01 level.

Keywords: perceptions of organizational support, organizational commitment, The Department of Juvenile Observation
and Protection


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.6

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus