ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จังหวัดสตูล

อรวรรณ ศรีไสยเพชร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 2) เปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองกับระยะติดตามผล

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จังหวัดสตูล ที่มีคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาต่ำ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้
แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกับหลังการทดลอง

คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมแนะแนว, โครงงาน, ทักษะการแก้ปัญหา, มัธยมศึกษา

 

The purposes of this research were 1) to compare results of developing problem solving skills of the experimental group students before and after using a guidance activities package with project-based learning; and 2) to compare results of developing problem solving skills of the experimental group students at the completion of the experiment with those in the follow up period.

The research sample consisted of 24 Mathayom Suksa III students of Princess Chulabhorn’s College, Satun in Satun province, who had low test scores in problem solving skills. The employed research instruments comprised 1) a guidance activities package with project-based learning to develop problem solving skills, and 2) a problem solving skills test with reliability coefficient of .70. Statistics for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test.

The research findings showed that 1) after the experiment with the use of the guidance activities package with project-based learning, the post-experiment problem solving skills of the students were significantly higher than their pre-experiment counterpart skills at the .05 level; and 2) problem solving skills of the experimental group students at the completion of the experiment were not significantly different from their counterpart skills in the follow up period.

Keywords: guidance activities package, project-based learning, problem solving skills, mathayom suksa


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.21

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus