สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

วารุณี เรืองมี, เนตรนภา คู่พันธวี

Abstract


การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ภายใต้กรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรัง ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 68 คน ประกอบด้วย ทีมดูแลสุขภาพ 10 คน ผู้นำชุมชน 6 คน อบต. 2 คน อสม. 10 คน ผู้ป่วย 20 คน และญาติ 20 คน

ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตามกรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรัง มีดังนี้ 1) ระดับเล็ก ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการออกจากโรงพยาบาลแต่ยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน ผู้นำชุมชน สมาชิกในชุมชน รวมถึง อสม. ได้รับข้อมูลและการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองน้อย และทีมสหวิชาชีพยังทำงานแบบแยกส่วน 2) ระดับกลาง มีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ระหว่างหน่วยบริการสุขภาพ การสนับสนุนการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังไม่เน้นโรคหลอดเลือดสมอง ระบบฐานข้อมูลขาดการรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล การบริหารจัดการภายในชุมชน พบว่า ยังขาดการสร้างความตระหนัก ตื่นตัวเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ชมรมผู้สูงอายุ และ อบต. สนับสนุนให้มีการเยี่ยมบ้าน และมีการใช้ทรัพยากรในชุมชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 3) ระดับใหญ่ พบว่า งบประมาณและนโยบายส่วนใหญ่ที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังยังไม่เน้นเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรให้ความสำคัญในการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักแก่สมาชิกในชุมชน รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งด้านของการป้องกันการเกิดโรคและตรวจจับอาการเบื้องต้นของโรคด้วยตนเองได้ รวมถึงการปรับระบบในการดูแลผู้ป่วยและระบบฐานข้อมูลให้มีความครอบคลุม

คำสำคัญ: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลในชุมชน

 

This descriptive research aimed to study the health care situation of stroke patients in the community of Khao-Ya subdistric, Sribunpot distric, Phatthalung province under the innovative care for chronic condition. The data consists of 10 member of health care team, 6 community leaders, 2 local government 20 village health volunteers 20 patients and 20 caregivers.

The results of analysis were: The situation of care for stroke according to the innovative care for chronic condition 1) micro level: Patient had been preparing before discharge from hospital but not comprehensive. community leader, community member and village health volunteers have get less information about stroke and modular multidisciplinary team work. 2) meso level: Health care organizations were coordination. Supporting for self management in chronic disease not focus on stroke. Lack of gather and organize the database. Community lack of awareness about stroke. Local government and Senior citizens club were support home visit. The support of promotion, protection and care of stroke patient is still insufficient. Using community resources for health promotion. 3) macro level: Most of the budget and policy support for patients care with chronic disease not focused on stroke.

Suggestions from this research should be a priority in education, raising awareness of community members, personnel in various departments to get to understand about stroke. There should be prevention and detection of disease by self. Improving patient care system and database of stroke.

Keywords: stroke patients, community health care


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.37

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus