แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

สุรศักดิ์ โจถาวร

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยทำการศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 13 โรงเรียน นักเรียนจำนวน 387 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555 และทำการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)
ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analyze) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content
Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนมีระดับการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เพศ เกรดเฉลี่ย ระดับการศึกษาของนักเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยต่อวันของนักเรียนที่แตกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนที่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามอาชีพของผู้ปกครองพบว่า ไม่แตกต่างกันนอกจากนี้พบว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม 4 ด้านจากทั้งหมด 7 ด้านที่มีอิทธิพลต่อระดับการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารหลักปรัญาเศรษฐกิจพอเพียงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของนักเรียนการสนับสนุนจากสถานศึกษาการอบรมเลี้ยงดูสำหรับผลการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดีและน้อมนำไปปฏิบัติ โดยผู้วิจัยได้นำผลการสัมภาษณ์มาสรุปเป็นแนวทางการส่งเสริม 4 แนวทาง ได้แก่ 1) สร้างแนวทางการรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรสื่อสารมวลชน สถานศึกษา และชุมชนที่นักเรียนอาศัย 2) สภาพแวลดล้อมที่อยู่อาศัยของนักเรียนกลายชุมชนต้นแบบ เป็นชุมชนที่มีการดำเนินวิถีชีวิตอย่างพอเพียง โดยให้ครอบครัวของนักเรียนมีส่วนร่วมในการเป็นครอบครัวต้นแบบ และชุมชนต้นแบบตามลำดับ 3) สถานศึกษาสนับสนุนนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับพฤติกรรมพอเพียงของเด็กนักเรียน และจัดทำหลักสูตรพิเศษที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง 4) ให้ความรู้ความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกวิธี ที่สามารถกำหนดพฤติกรรมของเด็กได้ในอนาคต โดยอาศัยการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการจากหลายๆส่วน

คำสำคัญ : คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus