การศึกษาทักษะสังคมในเด็กออทิสติกปฐมวัยโดยการอาชาบำบัด

ชุติมณฑน์ ขวัญกิจบวรกุล, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดเด็กออทิสติกปฐมวัยด้วยอาชาบำบัดที่มีต่อทักษะสังคม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กออทิสติกปฐมวัย จำนวน 3 คน ซึ่งมีอายุ 6 ปี จากกิจกรรมอาชาบำบัด กลุ่มโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ครูและผู้ปกครองเด็กออทิสติกปฐมวัย ในเรื่องประวัติส่วนตัวและหัวข้อที่เกี่ยวกับทักษะสังคมก่อนและหลังเข้าร่วมการอาชาบำบัด แบบสังเกตทักษะสังคมของเด็กออทิสติกปฐมวัย และแบบบันทึกทักษะสังคมของเด็กออทิสติกปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การอาชาบำบัดนั้นเป็นการบำบัดเด็กที่มีความบกพร่อง โดยให้เด็กขี่ม้าร่วมกับการทำกิจกรรมบนหลังม้า โดยการขี่ม้าจะเป็นการเสริมสร้างสมาธิให้แก่เด็กปฐมวัย ผลการทดลองจากกลุ่มเป้าหมายเด็กออทิสติกปฐมวัย พบว่า มีทักษะสังคมที่พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 3 ด้าน คือ 1) ทักษะการสนทนา ประกอบไปด้วย การตอบสนองต่อบทสนทนา และการรักษาอากัปกิริยาระหว่างการสนทนา 2) ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ประกอบไปด้วย การทำตามคำชี้แนะของผู้อื่น 3) พฤติกรรมพื้นฐานที่สำคัญ ประกอบไปด้วย การสบตา และการร้องขอความช่วยเหลือ โดยทักษะสังคมถูกเสริมสร้างในขณะที่เด็กออทิสติกปฐมวัยได้รับการทำกิจกรรมบนหลังม้า ทั้งนี้ผลที่ได้รับการพัฒนานั้นขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กออทิสติกปฐมวัย และระยะเวลาในการอาชาบำบัดที่มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

คำสำคัญ: เด็กออทิสติก, ปฐมวัย, อาชาบำบัด, ทักษะสังคม

 

This research aimed to study the results of treatment in young children with autism through Hippotherapy towards social skills. The participants of this research consisted of 3 of 6-year-old young children with autism who are in Hippotherapy program from Piboonprachasan School. The research tools were interview form of teachers and parents of young children with autism on personal information and topics relevant to social skills before and after participating in Hippotherapy program, observation form of young children with autism’ social skills, and recording form of young children with autism’ social skills. Data were analyzed by content analysis.

Results revealed that Hippotherapy was the treatment for children with disabilities by riding the horse while having activities on the horseback. Horseback riding enhanced concentration to children with autism. Results from the participants indicated that there were 3 aspects of social skills which had been developed obviously 1) conversational skills as responding to other and maintaining interaction 2) cooperative social skills including participation in following the advice of others. 3) pivotal behaviors including eye contact and requesting help or attention. Social skills had been reinforced while young children with autism having activities on the horseback. However, the development results were found to depend on the differences of each young child with autism and a constant and continual time duration of Hippotherapy.

Keywords: children with autism, young children, hippotherapy, social skills


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.20

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus