อิทธิพลเชิงหน้าที่ของการศึกษาก่อนวัยเรียนต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 3-4 ปี
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงหน้าที่ของการศึกษาก่อนวัยเรียนต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 3-4 ปี โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีวัยเจริญพันธุ์ไทย พ.ศ.2555 หรือ MICS4 ผลการศึกษาโดยใช้สมการถดถอยในการวิเคราะห์พบว่า เมื่อควบคุมปัจจัยต่างๆ แล้ว การศึกษาก่อนวัยเรียนมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาในเด็กอายุ 3-4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ถ้าเด็กอายุ 3-4 ปี ได้รับการศึกษาก่อนวัยเรียนจะมีโอกาสบรรลุพัฒนาการทางสถิติปัญญามากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาก่อนวัยเรียน คิดเป็นร้อยละ 17 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีตัวแปรอื่นๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กด้วยเช่นกัน ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิภาคและระดับการศึกษาของแม่ อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัจจัยด้านเขตพื้นที่เมือง/ชนบท และเศรษฐสถานะของครัวเรือนนั้นไม่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
คำสำคัญ: พัฒนาการทางสติปัญญา, การศึกษาก่อนวัยเรียน, เด็กก่อนวัยเรียน
This article aims to study the functional influence of preschool education on cognitive development in 3-4-year-old children or preschoolers. According to Thailand MICS4 Thailand data, the result from regression analysis shows that with ceteris paribus, preschool education significantly relates to cognitive development achievement. The result is found that the 3-4-year-old children with preschool education have a 17% chance to attain their cognitive development higher than the children without preschool education. In addition, other factors; such as sex, month age, region and mother’s education level; also impact on the attainment of cognitive development, but the urban/rural area and household’s economic status are not statistically significant to children’s cognitive development at all.
Keywords: cognitive development, preschool education, preschoolers
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.14
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus