การเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของแรงงานสตรีบ้านสุไหงปาแน ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

อาหวัง ล่านุ้ย, ซาลีป๊ะ ปาแน, วิสณี เจ๊ะหมะ

Abstract


งานวิจัยเรื่อง การเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของแรงงานสตรีบ้านสุไหงปาแน ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและเพื่อศึกษาถึงฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนของสตรีที่เคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแรงงานสตรีจำนวน 100 ราย และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากตัวแทนแรงงานสตรี จำนวน 10 ราย เพื่ออธิบายลักษณะส่วนบุคคลและผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความสอดคล้องเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่แรงงานสตรีเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากรายได้มีเสถียรภาพ มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของแรงงาน และมีสวัสดิการที่ดีกว่าอาชีพเดิม โดยแรงงานสตรีที่เคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม มีส่วนช่วยดำรงฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวในระดับปานกลาง ถ้าไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจะทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวประสบปัญหา มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย แรงงานสตรียังคาดการณ์ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการจ้างแรงงานในอัตราที่เพิ่มขึ้นและมีการจ้างงานเต็มที่

คำสำคัญ: การเคลื่อนย้ายแรงงาน, ภาคอุตสาหกรรม, แรงงานสตรี, สุไหงปาแน

 

The study of Mobility into Industrial Sector of Women Labor of Sungai-Panae Village, Bana Subdistrict, Muang District, Pattani Province was aimed to study the causes of women labor mobility to industrial section and to study economic status of those women’s families moving to industrial section. The quantitative data was 100 working women and 10 working woman for qualitative data. The data were analyzed by using social package program to describe personal characteristics and the effects occurring when having labor mobility to industrial sector. For qualitative data, they were analyzed logically. The research was found that the causes of women labor mobility were the income stability, law of labor protection and better welfare and women working in industrial can support their families better. If there was no labor mobility, their families would face with financial problem. The woman labor also expected that there would be more employments with higher wages in industrial sector.

Keywords: labor mobility, industrial sector, women labor, Su-ngai Panae


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.7

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus