ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการรังแกกันในโรงเรียนมัธยมสตรี ในกรุงเทพมหานคร ตามแนวทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์ แอล เอเคอร์

ปวริศร์ กิจสุขจิต

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการรังแกกันในนักเรียนมัธยมสตรีตามแนวทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์ แอล เอเคอร์ วิเคราะห์การรังแกกันในนักเรียนมัธยมสตรีตามแนวทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์ แอล เอเคอร์ และเสนอแนะแนวทางการป้องกันการรังแกกันในนักเรียนมัธยมสตรี ทั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม คือ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณจะคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างเลือกศึกษาเฉพาะ 5 โรงเรียน (จากทั้งหมด 10 โรงเรียน) โดยใช้วิธีการจับฉลากเลือกต่อหน้าคณะกรรมการวิทยานิพนธ์และใช้วิธีการเลือกประชากรกลุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling โดยให้โรงเรียนที่ทำการวิจัยเป็นผู้จัดหากลุ่มตัวอย่างให้ด้วยวิธีการประชุมระหว่างครู-อาจารย์ ผู้อำนวยการของโรงเรียน และผู้ปกครองเป็นทางลับ เพื่อนำนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มที่มีพฤติกรรมความรุนแรงจากระดับชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย ระดับละ 40 คน ของแต่ละโรงเรียน (รวม 400 คน) เพื่อมาเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ และการวิจัยเชิงคุณภาพ 5 คน โดยฝ่ายปกครองของทางกลุ่มโรงเรียนดังกล่าวเป็นผู้จัดหานักเรียนที่มีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นมาให้โดยทางลับ สำหรับแบบสอบถามเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยง ส่วนแบบสอบถามเชิงคุณภาพใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาว่ามีขอบเขตเนื้อหาถูกต้อง เหมาะสม ครอบคลุมประเด็นการวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัยครบถ้วน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมัธยมสตรีกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์การใช้ความรุนแรงของตนเอง ร้อยละ 20.50 มีประสบการณ์การใช้ความรุนแรงของคนในครอบครัว ร้อยละ 9.00 มีประสบการณ์การรังแกกันหรือพบเห็นความรุนแรง จากเพื่อนหรือบุคคลอื่น ร้อยละ 52.00 มีการเลียนแบบการรังแกกันจากบุคคลในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 10.50 มีการเลียนแบบการรังแกกันจากสื่อต่างๆ ร้อยละ 14.75 ส่วนในด้านการคบหาสมาคมเพื่อนในกลุ่มของนักเรียนมัธยมสตรีกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 6.25 มีพฤติกรรมการรังแกผู้อื่นมาก ส่วนข้อมูลเชิงลึกในการรังแกกันในโรงเรียนมัธยมสตรี มีสาเหตุมาจากประสบการณ์การใช้ความรุนแรงของตนเอง การใช้ความรุนแรงของคนในครอบครัว ประสบการณ์การพบเห็นความรุนแรง จากเพื่อนหรือบุคคลอื่น การเลียนแบบการรังแกผู้อื่นจากบุคคลในชีวิตประจำวันและจากสื่อ และการคบหาสมาคมกับเพื่อนในกลุ่มที่มีพฤติกรรมรังแกผู้อื่น โดยวิธีการรังแกของนักเรียนหญิงด้วยกันเองจะแตกต่างกับวิธีการรังแกของนักเรียนชาย กล่าวคือ จะไม่ใช้กำลังทางกายในการรังแก แต่จะรังแกด้วยวิธีการทำลายความสัมพันธ์และการทำร้ายจิตใจเป็นหลัก

คำสำคัญ: การรังแกกัน, นักเรียนมัธยมสตรี, ทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์ แอล เอเคอร์

 

This research aimed to study and analyze factors causing bullies in the secondary girls’ schools in Bangkok, based on the Social Learning Theory of Ronald L. Akers, and to recommend preventive approaches for bullies in those schools. The use of mix research methods applies for this research. According to quantitative research method, 5 schools from 10 schools are randomly chosen by drawing lots before thesis advisory. The population is chosen by simple random sampling technique under schools’ secret conference. The population (400 persons) includes 40 students from lower secondary school and 40 students from high school education per school. In contrast, according to qualitative research method, 5 students having bullying behaviour are secretly selected by teachers for providing information about their behaviour. The questionnaires are tested before using and are proved by thesis advisory. Results revealed that 20.50% of the sample has experienced using their own violence; 9.00 % has experienced family violence. 52.00% of the sample has experienced bullying and met with violence from friends or other people. 10.50% of the sample imitated bullying mostly from persons in their daily lives. 14.75% of the sample imitated bullying from the media. Regarding association, 6.25% of the sample committed much bullying to others. In-depth information on bullying in the secondary girls’ schools came from personal experience of violence, from family members, experiencing or witnessing violence from friends and others, imitating bullying others by observing individuals in daily life, or from media and friends’ association with bullying behavior. Methods differed from secondary boys’ schools. The physical force was not used directly, but mainly destroyed relationships and hurt others’ feelings.

Keywords: bullying, secondary girls’ schools, social learning theory of Ronald L. Akers


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.8

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus