การแสวงหาและการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา: กรณีศึกษาอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ซานูซี เจ๊มะ, อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ, ฐะปะนีย์ เทพญา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการแสวงหา การประเมิน และการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตประจำวัน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาการประเมินและการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามคุณลักษณะทางประชากร สถานการณ์แวดล้อมและวัตถุประสงค์ในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t–test) และ ANOVA

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.40 ผลการวิจัยพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 47.16 ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 45.38 อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งสถานที่ทำงานและที่พัก ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและใช้ในชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 60.83 ผลการศึกษาพฤติกรรมการแสวงหา การประเมิน และการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคง พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาแสวงหาสารสนเทศจากเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับมาก มีรูปแบบการแสวงหาสารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคล โดยแสวงหาสารสนเทศจากสื่อบุคคล เช่น จากผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เพื่อนร่วมงานก่อนการแสวงหาจากแหล่งอื่นอยู่ในระดับมาก โดยครูและบุคลากรจะใช้สารสนเทศในขณะปฏิบัติงานในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก มีการประเมินสารสนเทศจากความทันสมัยของสารสนเทศอยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่แสวงหาสารสนเทศจากเฟซบุ๊กอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การใช้สารสนเทศ, การแสวงหาสารสนเทศ, ครูและบุคลากรทางการศึกษา, ความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคล

 

The main objectives of this research were focused on two points. Firstly, to study the information seeking behavior, evaluation and usage the information for personal safety and security of teachers and educational personnel for working and daily routine. Secondly, to compare the information seeking behavior, evaluation and usage the information for personal safety and security of teachers and educational personnel based on demographic characteristics, circumstances and the purposes of information utilization. The data was collected by using questionnaire to survey on 360 samples. The statistical analysis namely Mean, T-Test and ANOVA were conducted in data analysis.

The findings showed that 66.40% of the respondents were female and 47.16% of respondents worked in schools located in risk-prone areas while 45.38% of them were in the workplace and accommodation located in risk-prone areas. The purposes of information seeking and use of this samples were 60.83% for working and daily routine. The results of this research revealed that teachers and educational personnel sought the information through their colleagues at high level. The most frequently style of seeking information for personal safety and security were sought information through personal media such as local leaders, religious leaders and colleagues at high level. Teachers and educational personnel used the information while working in the school and evaluated the information from the modernized sources at a high level and most of them sought information from Facebook at a high level.

Keywords: information use, information seeking, teachers and education personnel, personal safety and security


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.11

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus