ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาเทคโนโลยีทางภาพถ่ายในการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ชไมพร อินทร์แก้ว, วิชัย นภาพงศ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาเทคโนโลยีทางภาพถ่ายในการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) ศึกษาผลของการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานกับการเรียนแบบปกติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 263-205 เทคโนโลยีทางภาพถ่ายในการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คน นำมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test Independent)

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น เพื่อการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยีทางภาพถ่ายในการศึกษา ในสัดส่วนการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร้อยละ 60 และการเรียนแบบปกติ ร้อยละ 40 โดยมี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ของรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X=4.32, S.D.=.18) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสูงกว่าการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) นักศึกษามีความพึงใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X_=4.47, S.D.=0.57)

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, บทเรียนออนไลน์

 

This research was conducted to examine 1) to synthesize the blended learning model in Photographic Technology for Educational Communication course for undergraduate students, Faculty of Education, Prince of Songkla University, 2) to compare the students’ learning achievement between learning with the blended learning model and learning with the conventional teaching method in Photographic Technology for Educational Communication course for undergraduate students, Faculty of Education, Prince of Songkla, and 3) to evaluate the students’ satisfaction after learning with the blended learning model in Photographic Technology for Educational Communication course for undergraduate students, Faculty of Education, Prince of Songkla. The research samples were purposively from 60 undergraduate students, Faculty of Education, Prince of Songkla University, who enrolled in this course in the first semester of academic year 2014. The sample divided into two groups by simple random sampling : the experimental group of 30 students studied with the blended learning model while the control group of 30 students studied with conventional teaching method. The collected data were analyzed using a means, a standard deviation and the t-Test for Independent.

The result revealed that 1) the developed blended learning model in Photographic Technology for Educational Communication accounted for 60 percent of online learning and 40 percent of conventional teaching method, consisted of 4 components : principle of blended learning, model objectives, organization of learning activities, and measurement and evaluation. The experts agree that the blended learning model was appropriateness at a high level of satisfaction (X_=4.32, S.D.=.18) 2) The learning achievement of students who studied with the blended learning model was higher than the students studied with the conventional teaching method at the statistically significant level of .05 3) The students’ satisfaction toward learning with the blended learning model was at a high level (X_=4.47, S.D.=0.57).

Keywords: blended learning, online learning


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.18

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus