พัฒนาการของนโยบายการศึกษาเพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สมพงษ์ ปานเกล้า

Abstract


บทความวิชาการบทนี้ มุ่งอธิบายถึงความเป็นมาของนโยบายการศึกษาเพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วง 8 ทศวรรษที่ผ่านมา ปี พ.ศ.2475-2555 โดยใช้แนวคิด “ไตรลักษณรัฐ” ของชัยอนันต์ สมุทรวณิช ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางพัฒนาการของนโยบายการศึกษา และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลจากการศึกษา พบว่า ชุมชนในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีเอกลักษณ์พิเศษเป็นของตนเอง ทั้งด้านประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรม ซึ่งมีพัฒนาการมายาวนานทำให้ประชากรกลุ่มนี้มีพลังและอำนาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาลค่อนข้างมากเป็นพิเศษ การดำเนินนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐตลอดช่วงเวลา 80 ปี แม้จะมีเหตุผลของรัฐที่ตั้งอยู่บน “มิติความมั่นคง” เป็นหลักแล้วก็ตามแต่ในความเป็นจริงรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็ได้ยินยอมให้ “มิติการพัฒนา” และ “มิติการมีส่วนร่วม” เข้ามามีทั้งบทบาทร่วมและบทบาทหลักในการกำหนดและดำเนินการตามนโยบายการจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้เพิ่มพระราชกรณียกิจเข้าไปมีบทบาทโดยตรงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น มีผลทำให้ “มิติการพัฒนา” และ “มิติการมีส่วนร่วม” สามารถเกาะเกี่ยวกันกับ “มิติความมั่นคง” เป็น “ไตรลักษณรัฐ” อย่างกลมกลืนและเด่นชัด เป็นเหตุเป็นผลของรัฐที่มีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ รัฐควรดำรงไว้ซึ่งเหตุผลด้าน “มิติการมีส่วนร่วม” เพื่อให้เป็นบทบาทนำในการขับเคลื่อนและควรให้ “มิติการพัฒนา” มีบทบาทร่วมและสนับสนุน “มิติความมั่นคง” โดยเน้นการใช้แนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ร่วมบูรณาการอย่างต่อเนื่องด้วยเพราะชุมชนนี้เชื่อว่าการพัฒนาการศึกษาโดยตัวประชาชนเองในสังคมที่รัฐกำหนดโลกทัศน์ทั้งหมดนั้น ไม่อาจมีจริงได้ เนื่องจากไม่มีการจัดการศึกษาที่เป็นกลาง หากไม่มีไว้สำหรับการกดขี่หรือการครอบงำก็มีไว้เพื่อเสรีภาพเท่านั้น

คำสำคัญ: พัฒนาการนโยบายการศึกษา, ความมั่นคง, จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

In this article, to explain developmentl of security educational policy in southern border provinces after the siam coup d’etat during 8 decades, 1932-2012 period. by using The concept of “three–Dimensional Aspects of the state” advance by Chai-Anan Samudvanija was used to explain the developmental of security educational policy in southern border provinces. And the presented recommends to security educational policies in southern Border Province. By reviewing the other documents and the related research and presented in the form of the descriptive analysis.

The study found that communities in southern border provinces have their own special identities which are historical, race, religion, language and culture. In particular, there is a strong culture an age-old history. which has a long-standing development that makes this population has the power and political bargaining power with the central government rather special. The educational policy implementation of the central governments throughout 80 years ago, although essentially driven by “security dimension” as the main reason of state, had to concede that other dimensions of state reasons, i.e., “development” and “participation” had to played as partnership role and a leading role in the formulation and implementation of educational policies affecting those communities, especially following the active and direct participation in programs and efforts directed at the improvement of life quality of people in southern border provinces of the king institution “development dimension” and “participation dimension” of state reasons became more legitimate and acceptable to the population in this part the country.

Recommendation, the state should live and support the main reasons “participation dimension” driven as the main role and provide the “development dimension” participate and support with “security dimension” by adopt to His majesty the king’s “understanding, access, development” as on continuous to proceed with the integration of the dimensions. Because these communities believe that educational development by themselves under the state control worldview may not have been true. since don’t have education management neutral. If it is not for the oppression or domination, it is intended only for freedom.

Keyword: development of educational policy, security, southern border provinces


Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2551-2554). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขตการศึกษา 2. (2528). 25 ปี เขตการศึกษา 2. ยะลา: เสริมการพิมพ์. โจนาธาน โคโซล. (2538). เนื้อแท้ของการศึกษาอเมริกัน. (อรรณพ พงษ์วาท, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2533). รัฐกับสังคม: ไตรลักษณรัฐในพหุสังคมสยาม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล โรจนอุดมศาสตร์. (2523). ปัญหาการจัดการศึกษาในมลฑลปัตตานี (พ.ศ.2449-2474). ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปก แก้วกาญจน์. (2531). พัฒนาการทางการศึกษาในภาคใต้ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5-2503. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วินิจ สังขรัตน์. (2544). อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2536). นโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 1-51. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

สมพงษ์ ปานเกล้า. (2541). นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลในชุมชนชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2475-2555). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สฤษดิ์ มินทระ. (2536). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). 4 ปีที่นำพาการศึกษาเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2548-2551). สงขลา: บริษัท เอสพริ้น (2004).

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2503). แฟ้มรวมมติคณะรัฐมนตรีด้านการศึกษา บัญชีชั้นต้น เรื่องการศึกษา 4 จังหวัดภาคใต้. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนวี.ที.ซี. คอมมิวเคชั่น.

อรรณพ เนียมคง. (2538). นโยบายการศึกษาของรัฐบาลต่อชาวไทยเชื้อสายมลายูในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2500-2516). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Naisbitt, J. (1994). Global Paradox. New York: William Morrow and Company.

Toffler, A. (1980). The Third Wave. New York: Bantam Books.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.36

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus