ปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อการค้าในสามจังหวัดชายแดนใต้

มัณฑนา กระโหมวงศ์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อการค้าในสามจังหวัดชายแดนใต้ และ 2) วิเคราะห์ปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อการค้าในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน 368 คน ใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 69.6 มีผลผลิต 1-5 ตัน/ปี และร้อยละ 59.5 มีพื้นที่เฉลี่ย 10 ไร่/คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีมากที่สุด ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันเองและจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตในราคา 50-70 สตางค์/กิโลกรัม มีการขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันเอง และจ้างขนส่งในราคา 30 สตางค์-1 บาท/กิโลกรัม ซึ่งผู้ผลิตปาล์มน้ำมันร้อยละ 76.6 ใช้รถกระบะขนส่งผลผลิต และผู้ผลิตปาล์มน้ำมันร้อยละ 59 ขนส่งผลผลิตไปยังลานเทสหกรณ์ปาล์มน้ำมันในจังหวัดที่ตนเป็นสมาชิก โดยระดับรองลงมาผู้ผลิตในจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 26.9 จะขนส่งผลผลิตไปยังลานเทปาล์มน้ำมันเอกชนในจังหวัด ในขณะที่จังหวัดปัตตานี ผู้ผลิตเพียงร้อยละ 1.4 ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปยังโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันดิบในจังหวัด และในจังหวัดยะลา ผู้ผลิตร้อยละ 5.7 ขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมันไปยังลานเทเอกชนต่างจังหวัด โดยพิจารณาจากระยะทางการขนส่งผลผลิต ราคา และความสะดวก ทั้งนี้ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันร้อยละ 39.7 มีระยะทางการขนส่ง 11-15 กิโลเมตร โดยผู้ผลิตในจังหวัดนราธิวาสมีต้นทุนการจ้างรถกระบะ 300-600 บาท/เที่ยว ส่วนในจังหวัดปัตตานี ผู้ผลิตมีต้นทุนการจ้างรถกระบะ 30 สตางค์/กิโลกรัม ในระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร ขณะที่ในจังหวัดยะลาผู้ผลิตมีต้นทุนการจ้างรถกระบะ 50 สตางค์-1 บาท/กิโลกรัม น้ำหนักประมาณ 2-2.50 ตันทะลาย/เที่ยว นอกจากนี้ จังหวัดยะลาและปัตตานี มีการใช้รถมอเตอร์ไซด์หรือรถสามล้อพ่วงขนส่งผลผลิตจากสวนปาล์มน้ำมัน ระยะทาง 1-3 กิโลเมตร มีต้นทุนการขนส่ง 2 สตางค์/กิโลกรัม สำหรับปัญหาด้านการจัดการโลจิสติกส์ปาล์มน้ำมันของผู้ผลิต โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 3.04 ซึ่งประเด็นที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก คือ ด้านกิจกรรมการจัดการรวบรวมและการเคลื่อนย้ายผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดยะลา มีปัญหาความไม่สะดวกในการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วมขังและถนนขรุขระ ปัญหาปริมาณผลผลิตที่ส่งผลต่อราคาและความต้องการของทั้งผู้จำหน่ายและผู้รับซื้อ และการขาดแคลนพื้นที่ปลูก ส่วนปัญหาด้านกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นมากในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา พบว่า ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดยะลา มีปัญหาต้นทุนน้ำมันจากการใช้รถมอเตอร์ไซด์หลายรอบบนถนนคันนาไปยังผู้รับซื้อผลผลิตซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 วัน ทำให้คุณภาพและราคาปาล์มน้ำมันลดลง และมีปัญหาด้านการกำหนดราคาจากผู้ซื้อ

คำสำคัญ: การจัดการโลจิสติกส์, ปาล์มน้ำมัน, ผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน, การค้า, สามจังหวัดชายแดนใต้

 

The objectives of this research were to investigate the logistics management of oil palm producers (OPP) for commercial, and to analyze the problems of logistics management of OPP for commercial in the three southern border provinces. The data were collected from 368 OPP in the study area. The structured questionnaire was applied and the stratified random sampling was implemented. The data were analyzed using descriptive statistics as percentage, mean, and standard deviation.

The results revealed that most of OPP are members of oil palm cooperatives, which are supported oil palm planting by the government. Around 70 percent of the OPP obtained oil palm yields 1-5 tons/year. 59.5% of the OPP own oil palm plantation areas 10 rai/family. The OPP in Narathiwat province have the largest areas. OPP themselves harvest oil palm fruits and employ labors at a rate of 0.50-0.70 baht/kg. OPP themselves also arrange the transportation of oil palm fruits and employ the transporter at 0.30 baht-1 baht/kg. The majorities (76.6%) used pickup truck to transport oil palm fruits. Most OPP (59%) transported oil palm fruits to cooperative ramps in the province, where they are members. In addition, in Narathiwat was revealed that 26.9% of OPP transported oil palm fruits to private ramps in the province. Meanwhile, in Pattani only 1.4% of OPP transported oil palm fruits to CPO mill within the province. In Yala, 5.7% of OPP transported oil palm fruits to private ramps within the province, which is based on transportation distance, cost and facilities. 39.7% of OPP locate in the radius of 11-15 km from the buyers. In Narathiwat, the cost of hiring pickup truck is recorded at 300-600 baht/trip. In Pattani, the cost of hiring pickup truck is 0.30 baht/kg in 300 km maximum. However, in Yala, the cost of hiring pickup truck is 0.50-1 baht/kg with the loading weight is 2-2.50 tons/trip. Moreover, in Yala and Pattani, motorcycles or “Cho Lay” sidecars are applied to transport oil palm fruits from plantations in the distance of 1-3 km at 0.02 baht/kg. The problem on oil palm logistics management of OPP in overall is rated in the moderate level at 3.04. The activities of the management to gather and move of oil palm fruits, OPP in Narathiwat and Yala encounter the harvest inconvenience, especially marshy area and flood in rainy season as well as rough road condition. OPP also confront the problems of oil palm quantity, and price and demand from buyers accordingly, and lack of production area. Moreover, the problems on logistics activities occur in Pattani and Yala revealed that OPP in Yala faced the cost of using motorcycles several rounds along the levee to reach the palm fruit collectors for 3 days, which results in lower quality and price.

Keywords: logistics management, oil palm, oil palm producers (OPP), commercial, Three Southern Border Provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.17

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus