ระบบขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงวัย...นโยบายที่ถูกเมิน?

ไวพจน์ กุลาชัย

Abstract


ประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงวัย โดยในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจำนวนประชากรผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55.84 ผู้สูงวัยบางส่วนต้องพึ่งพาอาศัยตนเองโดยการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อทำกิจวัตรประจำวัน แต่ผู้สูงวัยต้องประสบกับความยากลำบากในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงวัยและเป็นอุปสรรคต่อผู้สูงวัยในการเข้าถึงบริการ ตลอดจนยังไม่มีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการจัดบริการขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงวัยเป็นการเฉพาะ ดังนั้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงวัย ผู้สูงวัยกับการเดินทาง การให้บริการรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงวัย นโยบายการบริการรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงวัย และทำการวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใดนโยบายดังกล่าวจึงถูกเมิน ผู้เขียนทำการศึกษาโดยการวิจัยเอกสารจากหนังสือ วารสารวิชาการ และเอกสารของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และค้นพบว่า ผู้สูงวัย คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีรูปแบบการเดินทางที่สำคัญ ได้แก่ การเดินทางโดยยานพาหนะส่วนบุคคล การใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ การใช้บริการยานพาหนะของเอกชนและการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ เมื่อพิจารณาถึงการให้บริการรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยประสบปัญหาในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะหลายประการ เช่น ความสามารถในการเข้าถึง ปัญหาด้านความปลอดภัย ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก ความไม่ตรงเวลา ความถี่ในการให้บริการ ปัญหาด้านข้อมูลข่าวสาร การให้บริการ เส้นทางไม่ครอบคลุม อุปสรรคในการขึ้น-ลงยานพาหนะ ปริมาณผู้โดยสารหนาแน่น ไม่เชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ และปัญหาเรื่องความสะอาด อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายด้านการจัดสรรบริการรถโดยสารสาธารณะแก่ผู้สูงวัยอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุผลที่สำคัญ ได้แก่ การที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาอื่นที่มีความสำคัญและเร่งด่วนมากกว่า สื่อสารมวลชนให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าวน้อย นักการเมืองขาดความสนใจ องค์กรที่รับผิดชอบด้านการจัดบริการรถโดยสารสาธารณะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับผู้สูงวัย และเครือข่ายของผู้สูงวัยไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอในการผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม

คำสำคัญ: การขนส่ง, นโยบายสาธารณะ, ผู้สูงวัย

 

Thailand is currently facing a rapidly growing population of older persons. The aging population has increased by 55.84 percent during the past two decades. Some aging people have to rely on their own. Some of them have to travel using public transportation for their daily lives’ activities. However, they have been facing difficulties in using public transportation since the current public transportation does not meet their needs and also obstructs their accessibilities. In addition, there is no specific policy which emphasizes on public transportation for aging people. This academic article, therefore, would like to study the concept of aging people, aging people and their travel, public transportation service for aging people, public transportation policy for aging people, and to analyze why such policy is neglected. Documentary research was employed by examining related books, academic journal, and official documents. This study found that aging people is a person whose age is 60 or over. They use various modes of transportation, such as private vehicle driver, public transportation passenger, private vehicle passenger, and non-motorized transportation. When considering the provision of public transportation services, aging people have to face with various problems. For instances, accessibility, safety, lack of facilities, unreliability, low frequency of service, poor information and service, uncovered routes, difficulties in getting on and off, crowdedness, no linkage with other public transportations, and cleanliness issue. However, related public agencies don’t pay importance on setting a transportation policy for aging people. The main reasons are that Thailand nowadays has faced with other problems which are more important and require urgent consideration; mass media pay less importance on this issue; politicians do not interested in the issue; related agencies lack of knowledge on aging people; aging people network is not strong enough to push forward the policy concretely.

Keyword: transportation, public policy, aging people


Full Text:

PDF

References


กระทรวงคมนาคม. (2554). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554-2558 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2546). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการ ส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ไทยรัฐออนไลน์. (15 ตุลาคม 2557). ขสมก. ยกธงขาวรถเมล์เอ็นจีวี ยกเครื่องชานตํ่า 3 พันคันทั่วกรุง. ไทยรัฐ. สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/content/456813

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง.

รัชพันธุ์ เชยจิตร. (2549). การศึกษาความต้องการเดินทางและพฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2555). ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย กรณีศึกษา สิงคโปร์และฮ่องกง. บทความวิชาการสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2(5), 1-22.

ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2552). มิติด้านสังคมกับการพัฒนา. ใน สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน, การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ (หน้า 28-31). กรุงเทพมหานคร: สหพัฒนไพศาล.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). การสูงวัยของประชากรไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Contents/Books/FullText/2014/2014-Population-Aging-Poster.pdf

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). คิดใหม่ระบบขนส่งมวลชน: บริการสะดวกจากบ้านถึงที่ทำงาน. สืบค้นจาก http://tdri.or.th/tdri-insight/rethinking-public-transport/

สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร. (2554). ประเทศไทย...เริ่มต้นพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างไร. Executive Journal, 31(4), 55-58.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2552). แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563). กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์คอมมูนิเคชั่น.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. (2556). รายงานประจำปี 2555. กรุงเทพมหานคร: องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ.

Chang, H. L., & Wu, S. C. (2005). Exploring the mode choice in daily travel behavior of the elderly in Taiwan. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 6, 1818-1832.

Cobb, R. W., & Coughlin, J. F. (1999). Transportation policy for an aging society: Keeping older Americans on the move. A paper presented in Conference on Transportation in Aging Society: A Decade of Experience, 7-9 November, 1999, Bethesda, Maryland.

Freund, K. (1999). Surviving without driving: Policy options for safe and sustainable senior mobility. A paper presented in Conference on Transportation in Aging Society: A Decade of Experience, 7-9 November, 1999, Bethesda, Maryland.

Gray, R., Pattaravanich, U., Chamchan, C., & Suwannoppakoa, R. (2013). New concept of older persons: The psycho-social and health perspectives. Bangkok: Rongpim Duen Tula.

Jones, B.D., & Wolfe, M. (2007). Public policy and the mass media: An information processing approach. A paper prepared for the European Consortium of Political Research Workshop on Public Policy and Mass Media: Influences and Interactions, Helsinki, Finland.

Lehning, A., Chun, Y., & Scharlach, A. (2007). Structural barriers to developing ‘aging-friendly’ communities. Public Policy & Aging Report, 17(3), 15-20.

Lynott, T., & Figueiredo, C. (2011). How the travel patterns of older adults are changing: Highlights from the 2009 National Household Travel Survey. Retrieved from http://assets.aarp.org/rgcenter/ppi/liv-com/ fs218-transportation.pdf

Marsden, G., Cattan, M., Jopson, A., & Woodward, J. (2008). Older people and transport: Integrating transport planning tools and user needs. Retrieved from http://www.sparc.ac.uk/media/downloads/executivesummaries/exec_summary_marsden.pdf

Okayama, M., & Sawai, S. (2010). An attitude analysis of elderly people toward mobility and community bus in rural area: Case study of the Osaki-Kajiyama island in Japan. Eastern Asia Society for Transportation Studies, 7, 1301-1313.

Onnavong, B., & Nitta, Y. (2005). Identifying inequality of transportation mobility: Developed country vs developing country. Eastern Asia Society of Transportation Studies, 5, 1065-1080.

Rosenbloom, S. (1999). Mobility of the elderly: good news and bad news. A paper presented in Conference on Transportation in Aging Society: A Decade of Experience, 7-9 November, 1999, Bethesda, Maryland.

Rosenbloom, S. (2009). Meeting transportation needs in an aging-friendly community. Journal of the American Society on Aging, 33(2), 33-43.

Suen, L. S., & Sen, L. (1999). Mobility options for seniors. A paper presented in Conference on Transportation in Aging Society: A Decade of Experience, 7-9 November, 1999, Bethesda, Maryland.

United Nations. (2013). World population ageing 2013. New York: United Nations.

Whelan, M., Langford, J., Oxley, J., Koppel, S., & Charlton, J. (2006). The elderly and mobility: A review of literature. Melbourne: Monash University Accident Research Centre.

World Health Organization. (2011). Global health and aging. Retrieved from http://www.who.int/ageing/publications/global_health.pdf

_______. (2015). Definition of an older or elderly person. Retrieved from http://www.who.int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.37

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus