การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ชมภูนุช หุ่นนาค

Abstract


การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และ 3) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดสมุทรสงคราม โดยประยุกต์ใช้แนวคิด SWOT Analysis และเลือกใช้วิธีการเชิงคุณภาพ ศึกษาเฉพาะกรณี จากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมถึงการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน ภาคประชาสังคม คนในชุมชน และนักท่องเที่ยว

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ คือ “เป็นเส้นทางเรียนรู้ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ภายในวันเดียวแห่งแรกของประเทศไทย” เน้นการจัดการด้านกายภาพ อนุรักษ์ ดูแล รักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และการจัดการด้านทัศนียภาพ รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก อีกทั้งพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ให้กับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจ และคนในชุมชนได้ร่วมเรียนรู้ ศึกษา ตลอดจนสร้างสรรค์กิจกรรมรูปแบบใหม่ที่สะท้อนอัตลักษณ์ ความมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยว

จากผลวิจัยดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) เน้นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ อย่างหลากหลาย 2) การรณรงค์ให้ชุมชน ท้องถิ่นโดยรอบพื้นที่เข้าใจ ตระหนัก หวงแหนภูมิปัญญา คุณค่าความงามในงานช่างฝีมือ ประเพณี วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อยังคงรักษาบริบท สภาพแวดล้อมของพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน และ 3) นโยบายและโครงการต่างๆ ที่ภาครัฐจัดทำขึ้นต้องเอื้ออำนวย หรือสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

คำสำคัญ: การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, การกำหนดยุทธศาสตร์, การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม

 

The study of Development of Historical Tourism in Samut Songkhram Province. Aimed to study general situations about historical tourism, to analyze contexts of historical tourism development and to determine the historical tourism developing strategies which were appropriate for Samut Songkhram Province, by applying SWOT analysis (strengths, weaknesses, opportunities and threats). The study had characteristics of qualitative research (case study design). The key informants were from all sectors. The research instruments were in-depth interview, documentaries and focus group. 

The finding showed that one way to develop historical tourism was to create “the way to learn a long history of Thailand in one day” by focusing on management of preserving and taking care of historical evidence as well as landscape management. Basic infrastructure and facilities should also be improved. Historical learning site should be developed so that tourists, interested people and people in community can learn from it. Tourist attractions as well as new activities need to be developed in order that they showed identities and values of historical tourism.

Based on the finding, there were some recommendations as follows: (1) focus on advertising by using various media (2) campaign to make people in communities understand and aware of intellect, values of handicrafts, traditions, cultures and simple way of life which are based on the community context in order to preserve the environment in historical sites nearby (3) policies and projects developed by government should support historical tourism development.

Keywords: the development of historical tourism, strategies formulation, analyze contexts


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.5

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus