การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องศีล 5 ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี

พระมหาปราชญ์ชยุตม์ ย่อมเต็ม, โอภาส เกาไศยาภรณ์, วสันต์ อติศัพท์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องศีล 5 ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องศีล 5 ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องศีล 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี จำนวน 30 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, คุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง

 

The purposes of this study were intended 1) to develop the Web-based Instruction based on self-directed learning on Buddhist Ceremony for Grade seven students at Buddhist Study Center of Changhai Temple, Pattani Province, 2) to study the self-directed learning after studying with the Web-based instruction and 3) to study the learning achievement after studying with the Web-based Instruction. The sample consisted of 30 students at Buddhism Study Center of Changhai Temple, Pattani Province.

The conclusions were as follows: 1) it was not significantly between pretest and posttest of self-directed learning at .05 level and 2) it was significantly higher learning achievement of the students in the posttest than in the pretest at .05 level.

Keyword: web-based instruction, self-directed learning


Full Text:

PDF

References


กรมการศาสนา. (2557). แนวทางการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ชาวประชาเป็นสุขในดำริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

พระปรีญาวัฒน์ จันทร์สิงห์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาพระพุทธศาสนาเรื่องเบญจศีลและเบญจธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุริยสาส์นการพิมพ์.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2541). การเรียนรู้ด้วยตนเองกลวิธีสู่การศึกษาเพื่อความสมดุล. วารสารครุศาสตร์, 27(1), 35-38.

Candy, P. C. (1991). Self-direction for lifelong learning: A comprehensive guide to theory and practice. San Francisco: Jossey Bass.

Gluglielmino, L. M. (1977). Development of self-directed learning readiness scale. Georgia: Gorgia University.

Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago: Follett Publishing.

Skager, R. (1978). Lifelong education and evaluation practice. Oxford: Frankfurt Unesco Institute for Education.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.31

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus