ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งน้ำต่อพฤติกรรมการปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีน

พิชญา นามพิมพ์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการปล่อยของเสียของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่นํ้าท่าจีน 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งนํ้ากับพฤติกรรมการปล่อยของเสียของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่นํ้าท่าจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ตำบลติดริมฝั่งแม่นํ้าท่าจีน โดยมีระยะห่างจากบ้านถึงแม่นํ้าท่าจีนไม่เกิน 500 เมตร จำนวน 400 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Tukey HSD กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าท่าจีนส่วนใหญ่มีความผูกพันและให้ความสำคัญต่อแม่นํ้าท่าจีนน้อย ซึ่งไม่มีการใช้ประโยชน์จากแม่นํ้าท่าจีนในทางตรง แต่ใช้แม่นํ้าเป็นแหล่งระบายของเสียจากครัวเรือนลงสู่แม่นํ้าโดยตรงเป็นอันดับ 1 ในส่วนของพฤติกรรมการปล่อยของเสียของประชาชนริมฝั่งนํ้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการปล่อยของเสียอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.0 รองลงมาคือ มีพฤติกรรมการปล่อยของเสียอยู่ในระดับดี 36.0 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการปล่อยของเสียที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่อยู่อาศัย ลักษณะของบ้าน และการใช้ประโยชน์จากแม่นํ้าท่าจีน

คำสำคัญ: วิถีชีวิตริมนํ้า, พฤติกรรม, การปล่อยของเสีย, แม่นํ้าท่าจีน

 

The purpose of this research is 1) to study the sewage behavior of people who live around Thachin River, 2) to find the relationship between riverbank community life style and sewage behavior through Thachin River. The sample of this research is people who live around Thajeen river whose house located within 500 meters from the river, 400 families. The data of this research was collected by interview and analyst the percentage, average, standard deviation, t-test, f-test, compared of different by Tukey HSD’s means and decided degree of important statistics from .05. The result of this research shown that the most people who live around Thachin River has low relationship with the river. They did not use the river, instead, they always make water pollution by wasting their garbage direct into the river this sewage behavior is the highest level among all behavior of the people who live near the riverbank. 64% of the sample has the sewage behavior in the middle level and 36% of the sample has the sewage behavior in the good level. The factors of the different sewage behavior of people who live near the river, which the statistic significantly is .05, are education, salary, years of living, style of the house, and benefit from river towards them.

Keyword: riverbank community life style, behavior, sewage, Thachin River


Full Text:

PDF

References


ชนิษฎา จารุวิชัยพงศ์. (2538). พฤติกรรมการใช้นํ้าและการจัดการนํ้าทิ้งของครัวเรืองในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชุดา จิตพิทักษ์. (2526). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ปฬาณี ฐิติวัฒนา. (2542). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รำจวญ เบญจศิริ. (2538). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหานํ้าเสียของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมจิตต์ สุพรรณทัสน์. (2526). พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลง. ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสุขศึกษา หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2548). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมปี 2548 พื้นที่ลุ่มนํ้าท่าจีนและลุ่มนํ้าคาบเกี่ยว (จังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุชาดา บุญประสม. (2539). พฤติกรรมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาแม่นํ้าท่าจีนเน่าเสีย ศึกษากรณีอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cronbach, L. J. (1972). Essential of psychological testing, (3rd ed.). New York: Harper and Row Publisher.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: HarperInternational Edition.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.32

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus