ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

กมลพร แสนพิพิธ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค 2) เพื่อตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ทั้งทางตรงและทางอ้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 694 คน จากการทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 และแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 11.5 ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม Lisrel version 8.52 ในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า ด้านการควบคุมสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกล้าเสี่ยง ด้านการนำตนเองเข้าไปแก้ปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการแสดงออก ด้านการรับรู้ถึงระดับของอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีสติ และด้านความอดทนทนทานต่ออุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการแสดงออก
2. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคผลได้ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square: X2) มีค่าเท่ากับ 175.93 องศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 94 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.063 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) มีค่าเท่ากับ 1.87 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.94 และค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.042
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามทางตรง ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพ ความรับผิดชอบ การมุ่งอนาคต และความเชื่อมั่นในตนเอง ตามลำดับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้แก่ ความรับผิดชอบ บุคลิกภาพ

คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค

 

The objectives of this research were 1) To study the relationship between the factors Influencing Adversity Quotient (AQ) 2) To ensure the model of the relationship of factors Influencing Adversity Quotient (AQ) and 3) To study the factors Influencing Adversity Quotient (AQ) of Bachelor degree level 1 at Rajabhat Maha Sarakham University. The samples of the study were 694 people from first-year students of 2nd semester 2011 and used the Multi-stage Random Sampling for selecting the sample. The tools used to collect the data were the factors rating scale Adversity Quotient (AQ) included 60 choices reliability .96 and the rating scale Adversity Quotient (AQ) included 40 choices reliability .86. Data was analyzed by descriptive statistics through SPSS version 11.5 and Lisrel version 8.52 for a structural equation modeling analysis.

The results of the study were as follows:
1. The relationship between the factors Influencing Adversity Quotient (AQ) in Bachelor degree level 1 at Rajabhat Maha Sarakham University found the Control (CON) had positive correlation with Moderate Risk Taking (MRT), for the Ownership (OWN) also had positive correlation with Extraversion (EXT), Reach (REA) had positive correlation with Conscientiousness (CSN), and the Endurance (END) had positive correlation with Extraversion (EXT).
2. The relationship model of the factors Influencing Adversity Quotient (AQ) were: Chi-square (X2) was equaled to 175.93, Degree of Freedom=94, P-value=0.063, Chi-Square (X2/df)=1.87, GFI=0.92, AGFI=0.94 and RMSEA=0.042.
3. The factors which directly Influencing to Adversity Quotient (AQ) in Bachelor degree level 1 at Rajabhat Maha Sarakham University were: Achievement Motive, Personality, Responsibility, Future Orientation and Self-Confidence. And the factors which indirectly influencing to Adversity Quotient (AQ) were Responsibility and Personality.

Keyword: the factors influencing, adversity quotient


Full Text:

PDF

References


ขัตติยา นํ้ายาทอง. (2551). การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ทิพวรรณ จันทสิทธิ์. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีจิตลักษณะและสถานภาพครอบครัวที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทศพร ประเสริฐสุข. (2542). ความฉลาดทางอารมณ์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 5(1), 19-34.

ธีรศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2548). AQ อึดเกินพิกัด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

บุญส่ง กวยเงิน. (2550). รูปแบบเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ระดับปริญญาตรี ภาคปกติชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิณกาน ภัทเศรษฐ์. (2551). การแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงตามโครงสร้างและความเชื่อมั่นของมาตรวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีรูปแบบต่างกัน สำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธยา คูณไทยสงค์. (2546). จิตลักษณะบางประการที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธาวดี สังขะมาน. (2548). ตัวแปรคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชภูมิ แพงมา. (2550). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีนัส ภักดิ์นรา. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางบุคลิกภาพกับเชาวน์อารมณ์ (EQ) และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมใจ จุฑาผาด. (2549). ปัจจัยเชิงที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551-2554). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2553. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

McClelland, D. C. (1961). The achievement society. New York: The Free Press.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient: Turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.28

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus