การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านม่วงพุ่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน ประกอบด้วย 1. วัฒนธรรมของตนเอง 2. วัฒนธรรมของผู้อื่น
3. วัฒนธรรมของตนเองและวัฒนธรรมของผู้อื่น แบบวัดความตระหนักทางวัฒนธรรมตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรม และแบบสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจและพฤติกรรมความตระหนักทางวัฒนธรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 2) ผลจากการสังเกตพฤติกรรมที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรม มีพฤติกรรมความตระหนักทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ: เด็กปฐมวัย, ความตระหนักทางวัฒนธรรม, วิถีประมงพื้นบ้าน
The purpose of this research were: to compare the cultural awareness in preschool children. The samples of this research were 25 male and female preschool children, ages between 5 and 6 years old that studied in kindergarten to year 2, the 2nd semester in 2015, from the Banmuangpum School, Songkhla Primary, Education Service Area Office 1. The instruments were 12 Learning Experience Provision based on the way of local fishing include 1) Lifestyle 2) Tradition and 3) Local Wisdom and the test of cultural awareness and observation record of behavioral of cultural awareness that the researcher constructed. The data was analyzed by mean, S.D. and the content analysis was used for qualitative data. Mean and standard deviation were used for qualitative data.
The results of this research showed that: 1) the preschool children who participated in provision Learning Experience Provision based on the way of local fishing had higher cultural awareness posttest scores than of understanding and behavioral of cultural awareness more than pretest score at the .05 significance. 2) the behavioral observation form showed that preschool children who received the learning experience provision based on the way of local fishing increased the cultural awareness.
Keyword: preschool children, cultural awareness, the way of local fishin
Full Text:
PDFReferences
ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2554). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทรัตน์ คงคาเพชร. (2555). การพัฒนาโมเดลการส่งผ่านของสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมของนักเรียนบนพื้นฐานทฤษฎีและการปฏิบัติที่ดี: การวิจัยข้ามวัฒนธรรมแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราลี ซุ่นซิ่ม. (2557). เอกสารรายงานประจำตัวเด็กระดับชั้นปฐมวัย. สงขลา: โรงเรียนบ้านม่วงพุ่ม.
สุธารา โยธาขันธ์. (2541). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองของเด็กวัยอนุบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dewey, J. (1959). Experience and education. New York: Macmillan Publishing Company.
Vygotsky, L. S. (1995). Mind in society: The development of higher psychological processes. In Cole, M., Steiner, V. J., Scribner, S., & Suberman, E. (Eds), The developmental of higher psychological processes. London: Haward University Press.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.30
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus