การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา

เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย, ชลาธิป สมาหิโต

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง จำนวน 25 คน อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา จำนวน 24 แผน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลจากแบบสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่สูงขึ้น

คำสำคัญ: ความคิดสร้างสรรค์, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, สะเต็มศึกษา, อาชีพในท้องถิ่น

 

The purpose of this research was: to study the creative thinking of preschool children who participated the STEM education learning experience provision on local careers in Songkhla Province. The samples of this research were 25 male and female preschool children, ages between 5 and 6 years old that studied in kindergarten to year 3, the 2nd semester in 2015, from Tessaban 2 (Banhatyai) School, Hatyai Municipality Songkhla. The instruments were 24 STEM education learning experience plans on local careers in Songkhla Province and the test of creative thinking that the researcher constructed. The data was analyzed by mean, S.D. and t-test. The content analysis was used for qualitative data.

The results of this research showed that: 1) the preschool children who participated in provision STEM education learning experience provision on local careers in Songkhla Province had higher creative thinking posttest scores than at the .05 significance 2) the behavioral observation form showed that preschool children who received the experience provision on local careers in Songkhla Province increased the creative thinking.

Keywords: creative thinking, learning experience, STEM education, local careers


Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

จุฑาทิพย์ พิศาภาค. (2551). การสร้างอาชีพจากวัสดุในท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ประพันธ์สิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์). (2555). ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อารี พันธ์มณี. (2547). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.24

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus