สาเหตุและการจัดการความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้งของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสาเหตุและวิธีการจัดการความขัดแย้งของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จำนวน 14 คน ใช้แบบนำการสัมภาษณ์ในการเก็บรวมรวมข้อมูล และศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี จำนวน 210 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี จากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ด้านผลประโยชน์ ด้านข้อมูล ด้านค่านิยม และด้านโครงสร้าง และวิธีการจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ การประนีประนอม การยอมให้ การเอาชนะ และการร่วมมือ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุความขัดแย้งอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูล ด้านผลประโยชน์ ด้านค่านิยม ด้านความสัมพันธ์ และด้านโครงสร้าง และวิธีการจัดการความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การยอมให้ การหลีกเลี่ยง การร่วมมือ และอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การประนีประนอม และ การเอาชนะ ในส่วนของการเปรียบเทียบสาเหตุและวิธีการจัดการความขัดแย้ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล บุคลากรที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการจัดการความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น A จังหวัดปทุมธานี ไม่แตกต่างกัน และบุคลากรที่มีอายุ ตำแหน่ง อายุการทำงาน และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการจัดการความขัดแย้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: สาเหตุความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง, จังหวัดปทุมธานี
The purposes of this research were to 1) examine causes of conflict of personnel in Local Government A in Pathum Thani Province, 2) provide resolutions towards conflict of personnel in Local Government A in Pathum Thani Province, and 3) compare causes and resolutions towards conflict of personnel in Local Government A in Pathum Thani Province, divided by personal factors. This paper was conducted by applying both qualitative and quantitative methods. The data were collected by using two research tools including interview form and questionnaire. The samples of this study consisted of 14 executives and chiefs of Local Government A. The interview form was used to gather the data from them. While the questionnaire was utilized to obtain the data from 210 personnel working for Local Government A.
The findings of this research indicated that, according to the qualitative methodology and the opinions of executives and chiefs, the causes of conflict in Local Government A in PathumThani were stemmed from interest conflict, data conflict, value conflict, and structural conflict. Consequently, the resolutions towards these conflicts were compromising, accommodation, competition, and collaboration. Regarding the quantitative research, additionally, the respondents’ opinions towards all causes of conflict including data, interest, value, relationship, and structure were at high level. Therefore, the overall resolutions towards these conflicts in Local Government A in Pathum Thani were at high level also. When considering each aspect, some resolutions consisting of accommodation, avoiding, and collaboration were at high level meanwhile certain resolutions such as compromising and competition were at moderate level. Furthermore, the comparison of causes and resolutions towards the conflict management, divided by personal factors, demonstrated that different gender had no effect on the opinions towards the causes and resolutions towards the conflict management in Local Government A, Pathum Thani. On the other hand, different age, position, duration of work, and education level affected the opinions towards the causes and resolutions towards the conflict management in the organization with a .05 level of statistical significance.
Keywords: causes of conflict, conflicts management, Phathum Thani Province
Full Text:
PDFReferences
ประกายทิพย์ ผาสุข. (2551). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปราณี พัฒนศิลป์. (2542). ความขัดแย้งในองค์กร ฝ่ายช่างของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลัดดาวัลย์ บำรุงกิจ. (2551). สาเหตุของความขัดแย้งและวิธีการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2555). ความขัดแย้ง หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นติ้งฮอลล์ จำกัด.
สาริน โพธิ์นาคเงิน. (2554). ลักษณะและระดับความขัดแย้งในองค์กร: กรณีศึกษา กรมการขนส่งทหารเรือ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ตะเกียง.
อุดม ฑุมโฆสิต. (2553). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่: บทเรียนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แซทโฟร์พริ้นติ้ง.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.23
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus