ปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคเลือดของผู้ที่มาบริจาคเลือด ณ ธนาคารเลือด โรงพยาบาลหัวหิน

สายทอง วงศ์คำ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคเลือดของผู้ที่มาบริจาคเลือด ณ ธนาคารเลือด โรงพยาบาลหัวหิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มาบริจาคเลือดที่ธนาคารเลือด โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์ (Chi-Square and Fisher Exact Test)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 43.40 สถานภาพโสด ร้อยละ 57.10 ระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 42.90 อาชีพรับราชการ เป็นผู้บริจาคครั้งแรก ร้อยละ 37.00 เหตุผลสำคัญในตัดสินใจบริจาคเลือด คือ เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการทำบุญ โดยที่ผู้บริจาคจะมาบริจาคในเวลาที่ตนเองสะดวก และส่วนใหญ่จะมาบริจาคทุก 3 เดือน สำหรับแรงจูงใจที่ทำให้อยากบริจาคเลือดมากที่สุด คือ ต้องการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะบุคคลในครอบครัว ผู้บริจาคส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการบริจาคเลือดและมีความรู้เกี่ยวกับการบริจาคเลือดในระดับสูง มีความเชื่อถือ มั่นใจ และไว้วางใจในคุณภาพการรับบริจาคเลือดของโรงพยาบาล สิ่งที่ได้รับการตอบสนองน้อยที่สุด คือ ประเด็นสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ที่พักรอ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สุขา ป้ายบอกทาง และจำนวนเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ

คำสำคัญ: การบริจาคเลือด, ผู้บริจาคเลือด

 

This research aimed to understand the factors that affect blood of donation at blood bank, Hua Hin Hospital. Information was complied by questionnaire interview from 357 samples of blood donors identified by random sampling method from people donating their blood to blood bank unit, Hua Hin Hospital. Analysis was performed upon the results of descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. And inferential statistics including the chi-square (Chi Square and Fisher Exact Test).

The study found the predominant features of the sample blood donors to be male 21-30 years of age, single by marital status (57.1%), bachelor’s degree graduate (42.9%), government official, 37% of the samples were first time donors. The main reason for donation blood was the desire to help other people, most commonly the samples came for blood giving at their own convenience. The most were donated every three months. For attitudes related to blood donation the most of them had the right attitudes and high level of knowledgeable about donating blood, reliability and confidentiality in the quality of donated blood at the hospital, but their recommendations of facilities were waiting area, newspaper, toilet, signs, and number of service officers.

Keywords: blood donation, blood donors


Full Text:

PDF

References


เชาวศิลป์ ยุชัย. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคโลหิตของผู้ที่มาบริจาคโลหิต ณ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 สภากาชาดไทย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงนภา อินทรสงเคราะห์. (2555). การตัดสินใจบริจาคโลหิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพชรรัตน์ วอนเพียร. (2550). ปัจจัยกำหนดการบริจาคโลหิตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลหัวหิน. (2558). จำนวนเลือดที่รับและจ่ายของโรงพยาบาลหัวหิน ระหว่างปี 2553-2557. ประจวบคีรีขันธ์: โรงพยาบาลหัวหิน.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. (2553). นโยบายบริการโลหิตแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.

_______. (2556). รายงานประจำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2526). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 8 เรื่องที่ 6 เลือดและธนาคารเลือดในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

โสภิดา เพชรสารกุล. (2552). ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตของประชากรในอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนงค์ศรี สิมศิริ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อภิญญา ทองสุขโชติ. (2554). พระพุทธศาสนากับการบริจาคโลหิต: ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.22

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus