ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

บุศรา เต็มลักษมี

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน และด้านครอบครัวต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและสร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำนวน 350 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง แบบทราบจำนวนประชากรโดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ 95% ของ Yamane (1967) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratify Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (Simple Correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านครอบครัวโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง
2. ปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอนและด้านครอบครัว ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
4. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) พฤติกรรมการสอนของครู (X5) การควบคุมชั้นเรียน (X6) บุคลิกภาพของครู (X7) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (X8) และรายได้ของผู้ปกครอง (X11) สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (Y) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 มีค่าอำนาจพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 18.2 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
^Y=1.55+.356 X2-.106 X5-.048 X6-.002 X7+.113 X8+.052 X11
หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
^Z=.398Z X2+.120 X5+.063 X6+.003 X7+.154 X8+.111 X11

คำสำคัญ: ปัจจัย, ความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

 

This research aimed to study the factors of learners, the factors of teachers and the factors of family was relating achievement of students of English secondary school. Factors were affecting to achievement of English secondary school students. And equations to predict academic achievement of students in English and Secondary Education in PrachuapKhiri Khan Province under the secondary educational service are office 10. The samples used in the study consisted of Grade 2 students at the secondary educational service were office 10 of 350 people by means of stratified (Stratify Random Sampling). The instruments used for the data collecting was a checklist questionnaires and a five leveled rating scale questionnaire. In the collection data was the five level data analysis computer program. The statistics utilized in analyzing the data were mean, standard deviation, multiple, correlation, multiple regression analysis and Stepwise Multiple Regression analysis. The findings of the research indicate as follows:

1. Factors of learners, factors of teachers of lower secondary education in PrachuapKhiri Khan Province under the secondary educational service were office 10, overall and individual were rated at a high level. And factors of family overall and individual were rated moderate level.
2. Factors of learners, factors of teachers and factors of family of lower secondary education in PrachuapKhiri Khan Province under the secondary educational service were office 10, overall and the results in a very high level of academic achievement of students in English subject. It has a statistically significant level .05 and factors of family has a statistically significant level .01
3. Factors of learners, factors of teachers and factors of family were affecting to achievement of students in English and Secondary Education in PrachuapKhiri Khan Province under the secondary educational service were office 10
4. Motivation (X2), teachers’ behaviour (X5), controlling class (X6), teachers’ personality (X7), interaction between teacher and student (X8), and the income of the parents (X11) could predict academic achievement of students in English and secondary education PrachuapKhiri Khan Province under the secondary educational (Y) service was office 10 was the predicted power equal to 18.2 percent that could be written in the form of follows equation:
^Y=1.55+.356 X2-.106 X5-.048 X6-.002 X7+.113 X8+.052 X11
Or in the standard equation below.
^Z=.398Z X2+.120 X5+.063 X6+.003 X7+.154 X8+.111 X11

Keyword: factors, related to english learning achievement, the secondary educational service area office 10


Full Text:

PDF

References


คึกฤทธิ์ พิทักษ์จำนงค์. (2542). ปัจจัยทางครอบครัวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน: ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนเตรียมทหาร. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิรนาฏ สุทธานุกูล. (2533). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านภูมิหลังทางครอบครัวและด้านตัวนักเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทสนทนา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

นงสมร พงษ์พานิช. (2554). การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้วยวาจาของนิสิตคณะวิทยาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2551. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 18(1), 85-97.

ปัญญา ดำสุวรรณ. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เพ็ญ จรูญธรรมพินิจ. (2540). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวลักษณะของนักเรียนและลักษณะของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรือนขวัญ ศรีวรสาร. (2550). อิทธิพลของครูภาษาอังกฤษต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนาพร สาชนะ, ประวิต เอราวรรณ์, และ ไพบูลย์ บุญไชย. (2555). การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 265-277.

วัชรพล สารสอน. (2543). ปัจจัยทางด้านครอบครัวที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒบริหารศาสตร์.

สรายุทธ เพ็ชรซีก. (2553). ปัจจัยทางครอบครัวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ศึกษากรณีโรงเรียนมีนประสาทวิทยา. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สามารถ ถาวร. (2543). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีราชารีราชา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 10. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2556. ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 10

สุชา จันทร์เอม. (2554). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 13 ฉบับแก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สุนันท์ สังข์อ่อง. (2542). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบด้านนักเรียนโรงเรียนและสภาพแวดล้อมทางบ้านกับองค์ประกอบแต่ละด้านของความรู้ความสามารถเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ หอมอ่อน. (2546). การวิเคราะห์องค์ประกอบประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.อภิชาติ แก้วประดิษฐ์. (2543). ความสัมพันธ์ของเจตคติต่อการเรียนและพฤติกรรมของนักศึกษาระดับ ปวช. ช่างอุตสาหกรรมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิทธิฤทธิ์ พงษ์ปิยะรัตน์. (2550). การวิเคราะห์ข้อสอบและการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ: การวิเคราะห์พหุระดับปริญญาเอกครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. S. (1976). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book.

Gardner, R. C., & MacIntyre, P. D. (1993). A student’s contributions to second language learning, part 2: Affective variables. Language Teaching, 2(11), 1-11.

Good, C. V. (1973). Dictionary of education (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Jakobovits, A. (1991). An introduction of language. New York: Haly Rinchart and Winston.

Klein, W. (1990). Second language acqistion. London: Cambridge University Press.

Krashen, S. D. (1992). Principle and practice in second language acquisition. Oxford: Pergamon Press.

Rokeach, M. (1970). Beliefs, attitudes and values. San Francisco: Jossey-Bass.

Yamane, T. (1967). Statistics, An introductory analysis (2nd ed). New York: Harper and Row.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.29

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus