ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมและทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุตั้งแต่ 15-65 ปี ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์ในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมในการมาใช้บริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในระดับน้อย (X_=1.220, S.D.=1.155) และทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ อยู่ในระดับปานกลาง (X_=3.260, S.D.=.950) 2) ทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ มีความแตกต่างกันไป อาชีพ (F=8.295, P=.000) สถานภาพสมรส (t=-3.946, P=.000) และการเปิดรับข่าวสารบริการไปรษณีย์ผ่านสื่อโทรทัศน์ (F=2.541, P=.039) และอินเตอร์เน็ต (F=3.139, P=.015) มีผลต่อทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) อายุ (r=.156, P=.002) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับทัศนคติของประชาชนต่อบริการไปรษณีย์ไทยในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบริการที่เป็นเลิศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: บริการที่เป็นเลิศ, ไปรษณีย์ไทย, การเปิดรับสื่อ
The purposes of this research were 1) to study the people’s services behaviors and the people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services, 2) to study factors affecting to people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services and 3) to study factors correlating with people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services. The systematic random sampling was used in this research. The samples in this study consisted of 400 people who were residents in Kanchanaburi Province. The data were collected by a questionnaire with Cronbach’s alpa coefficient of .973. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variance (ANOVA) and Pearson product moment correlation coefficient with the level of statistical significance at .05.
The research results showed that 1) people’s behaviors to services of Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province were at a low level (X_=1.220, S.D.=1.155) and people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services were at a moderate level (X_=3.260, S.D.=.950), 2) The hypothesis testing revealed that people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services were significantly different by occupation (F=8.295, P=.000) and marital status (t=-3.946, P=.000), It was also found that media exposure by television (F=2.541, P=. 039) and internet (F=3.139, P=. 015) affected people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services significantly. And 3) age (r=.156, P=.002) significantly correlated with people’s attitudes to Thailand Post Offices in Kanchanaburi Province to excellent services at .05 level of statistical significance.
Keywords: excellent services, Thailand Post, media exposure
Full Text:
PDFReferences
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
________. (2548). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
นริศรา ใครบุตร. (2551). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการของที่ทำการไปรษณีย์ดงมะไพ. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไปรษณีย์ไทย. (2558). ไปรษณีย์ไทย เชื่อมใจเป็นหนึ่ง. วารสารไปรษณีย์ไทย, 2(15), 9.
วราภรณ์ ใช้เทียมวงศ์. (2547). แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารผ่านสื่อมวลชนและสื่อบุคคลเพื่อให้บริการไปรษณีย์เชิงธุรกิจของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์นิเทศศาตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ ชวโนวานิช. (2548). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อบริการรับชำระเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์หลักสี่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Atkin, C. K. (1973). New Model Mass Commuication. New York: The Free Press.
Cronbach, L. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed). New York: Harper and Row.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.21
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus